ธุรกิจดีแค่ไหน วัดได้ ด้วยคำถาม 4 ข้อ | MONEY LAB
การจะเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ที่ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนนั้น เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในสิ่งที่เราลงทุน เป็นอย่างดี
ธุรกิจดีแค่ไหน วัดได้ ด้วยคำถาม 4 ข้อ
22 พ.ย. 2023
แน่นอนว่า มีหลายเรื่องที่เราควรเข้าใจ เช่น คุณภาพของกิจการที่เราจะลงทุน, งบการเงินของบริษัท และมูลค่าที่แท้จริง
นอกจากนี้ เรายังจะต้องวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ให้เป็นอีกด้วย
แล้วเราจะวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ ได้อย่างไร ?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
สิ่งที่เราควรจะดู เพื่อตรวจสอบว่าธุรกิจของบริษัทที่เราสนใจอยู่ มีประสิทธิภาพมากแค่ไหนนั้น ได้แก่
สินค้าขายออกเร็วแค่ไหน ?
บริษัทที่มีประสิทธิภาพ ควรจะบริหารสินค้าคงเหลือ ไม่ให้มีสต็อกสินค้ามากเกินไป ซึ่งถือเป็นต้นทุนจม
ตัวเลขที่บอกว่า บริษัทบริหารสินค้าคงเหลือ ได้ดีแค่ไหน ก็คือ “อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ”
โดยคำนวณหาได้จาก
ต้นทุนสินค้าขาย ในงบกำไรขาดทุน / มูลค่าสินค้าคงเหลือ ในงบแสดงฐานะการเงิน
ต้นทุนสินค้าขาย ในงบกำไรขาดทุน / มูลค่าสินค้าคงเหลือ ในงบแสดงฐานะการเงิน
ถ้าหากตัวเลขสูง ก็แปลว่า สินค้าคงเหลือ ถูกเปลี่ยนเป็นยอดขายได้บ่อย
หรือแปลว่า สินค้าขายออกได้เร็ว และค้างอยู่ในคลังสินค้าไม่นาน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี
หรือแปลว่า สินค้าขายออกได้เร็ว และค้างอยู่ในคลังสินค้าไม่นาน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี
ในทางกลับกัน ถ้าหากตัวเลขต่ำ ก็แปลว่า บริษัทต้องใช้เวลานาน กว่าจะขายสินค้าออกได้แต่ละครั้ง
เก็บเงินลูกหนี้ได้เร็วแค่ไหน ?
หลาย ๆ ครั้ง บริษัทอาจให้เครดิตกับลูกค้า โดยขายสินค้าและให้ลูกค้า “เซ็น” ไว้ ไม่ได้รับเงินสดในวันนั้น
บริษัทที่มีประสิทธิภาพ จะต้องเก็บหนี้จากลูกค้าที่เซ็นไว้ หรือที่ทางบัญชีเรียกว่า “ลูกหนี้การค้า” ให้ได้เร็ว ๆ
บริษัทที่มีประสิทธิภาพ จะต้องเก็บหนี้จากลูกค้าที่เซ็นไว้ หรือที่ทางบัญชีเรียกว่า “ลูกหนี้การค้า” ให้ได้เร็ว ๆ
ตัวเลขที่จะบ่งบอกว่า บริษัทเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าได้เร็วแค่ไหน ก็คือ “อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า”
โดยคำนวณหาได้จาก
รายได้จากการดำเนินธุรกิจ ในงบกำไรขาดทุน / มูลค่าของลูกหนี้การค้า ในงบแสดงฐานะการเงิน
รายได้จากการดำเนินธุรกิจ ในงบกำไรขาดทุน / มูลค่าของลูกหนี้การค้า ในงบแสดงฐานะการเงิน
ถ้าหากตัวเลขที่ออกมามีค่ามาก ก็แปลว่า บริษัทนั้น เปลี่ยนยอดหนี้ ให้กลายเป็นยอดขายได้หลายรอบ หรือสามารถเก็บเงิน จากลูกหนี้การค้าได้อย่างรวดเร็ว
มีอำนาจต่อรองกับเจ้าหนี้หรือเปล่า ?
ถ้าหากบริษัทมีเครดิตที่ดี การจะซื้อสินค้ามาขายก่อน แล้วค่อยจ่ายเงินให้ซัปพลายเออร์ทีหลัง ก็เป็นเรื่องที่ทำได้เช่นกัน
และถ้าหากบริษัทนั้น มีอำนาจในการต่อรองมาก ก็จะสามารถยืดเวลาการชำระเงิน ให้นานออกไปได้อีก
สิ่งที่จะบอกว่าบริษัทที่เราสนใจ มีอำนาจต่อรองกับเจ้าหนี้ได้มาก และทำให้ตัวเองมีระยะเวลาจ่ายคืนหนี้ที่ยาวนานได้ ก็คือ “อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า”
โดยคำนวณหาได้จาก
ต้นทุนสินค้าขาย ในงบกำไรขาดทุน / มูลค่าของเจ้าหนี้การค้า ในงบแสดงฐานะการเงิน
ต้นทุนสินค้าขาย ในงบกำไรขาดทุน / มูลค่าของเจ้าหนี้การค้า ในงบแสดงฐานะการเงิน
บริษัทที่มีตัวเลขนี้ต่ำ ก็จะแสดงให้เห็นว่า บริษัทนั้นมีอำนาจมาก ในการต่อรองกับเจ้าหนี้ ที่บริษัทไปยืมของมาขาย หรือผลิตสินค้า เพราะสามารถยืดเวลาได้นาน จนไม่ต้องจ่ายเงินคืนหลาย ๆ รอบ
เพื่อให้เราเข้าใจกันอย่างชัดเจนขึ้น จะขอยกตัวอย่างโดยใช้ ข้อมูลของบริษัท A ในปี 2565 ดังนี้
รายได้จากการดำเนินธุรกิจ 7,000 ล้านบาทต้นทุนขาย 4,200 ล้านบาทมูลค่าสินค้าคงเหลือ 400 ล้านบาทมูลค่าของลูกหนี้การค้า 650 ล้านบาทมูลค่าของเจ้าหนี้การค้า 830 ล้านบาท
จากข้อมูลนี้ เมื่อเรานำไปคำนวณหา อัตราส่วนที่เราต้องสนใจ จากข้อ 1 จนถึงข้อ 3 ก็จะเห็นได้ว่า บริษัท A มี
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ 10.5 เท่าอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า 10.8 เท่าอัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า 5.1 เท่า
และถ้าหากแปลความหมาย อัตราส่วนเหล่านี้ออกมา ก็จะได้ความว่า ภายในปี 2565 บริษัท A จะมีการซื้อสินค้ามาเติม และขายออกไป ทั้งหมด 10.5 รอบ
ส่วนในเรื่องการเก็บเงินจากลูกหนี้ บริษัท A มีการเก็บเงินจากลูกหนี้การค้า ในปี 2565 ทั้งหมด 10.8 รอบ
และบริษัท A ยังมีการจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้การค้า สำหรับ การนำวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้า ในปี 2565 ทั้งหมด 5.1 รอบ
เมื่อดูเป็นอัตราส่วนแบบนี้ อาจจะยังเข้าใจยากอยู่ แต่ถ้าหากเราลองแปลงอัตราส่วนเหล่านี้ ให้เป็นจำนวนวัน ก็จะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
วิธีการแปลงอัตราส่วนเหล่านี้ให้เป็นวัน ทำได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย ของบริษัท A หาได้จาก
(365 วัน / อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ)ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย ของบริษัท A หาได้จาก
(365 วัน / อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า)ระยะเวลาชำระคืนเจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย ของบริษัท A หาได้จาก
(365 วัน / อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า)
(365 วัน / อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ)ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย ของบริษัท A หาได้จาก
(365 วัน / อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า)ระยะเวลาชำระคืนเจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย ของบริษัท A หาได้จาก
(365 วัน / อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า)
ซึ่งเมื่อคำนวณออกมา ก็จะได้ว่า บริษัท A มี
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย 35 วันระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย 34 วันระยะเวลาชำระคืนเจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย 72 วัน
ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เอง ก็จะปูทางไปสู่ การวัดประสิทธิภาพของบริษัทอย่างสุดท้าย ที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ
ธุรกิจมีสภาพคล่องหมุนเวียนดีไหม ?
วิธีที่จะช่วยให้เราดูว่า บริษัทที่เราสนใจ มีสภาพคล่องหมุนเวียน ไม่ขาดมือหรือไม่ ก็คือ “วงจรเงินสด”
คำนวณหาได้จาก
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย + ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย - ระยะเวลาชำระคืนเจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย + ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย - ระยะเวลาชำระคืนเจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย
หากวงจรเงินสดสั้น ก็หมายความว่า บริษัทมีสภาพคล่องในการทำธุรกิจดีมาก เพราะทำธุรกิจแล้วได้รับเงินสดกลับมาสู่บริษัทเร็ว
แต่ถ้าวงจรเงินสดยาว หมายความว่า บริษัททำธุรกิจแล้ว กว่าจะได้เงินสดกลับมา ต้องใช้เวลานาน
และถ้าหากนานเกินไป บริษัทอาจเกิดปัญหาเรื่องสภาพคล่องในการทำธุรกิจได้
จากตัวเลขที่เราได้คำนวณไปก่อนหน้า ก็จะพบว่า วงจรเงินสดของบริษัท A เท่ากับ -3 วัน
วงจรเงินสดติดลบ หมายความว่า วงจรเงินสดของบริษัทสั้น ทำให้บริษัทมีสภาพคล่องสูงมาก เพราะบริษัทได้รับเงินจากการขายสินค้าก่อน แล้วค่อยจ่ายคืนเจ้าหนี้ทีหลัง
เพราะบริษัท A ใช้เวลาในการขายสินค้าแค่ 35 วัน แต่ด้วยอำนาจในการต่อรอง ทำให้บริษัท A กว่าจะจ่ายคืนหนี้ให้กับเจ้าหนี้การค้า ก็นานถึง 72 วัน
อีกทั้งยังมีเงินสดที่เข้ามา จากเหล่าลูกหนี้การค้า ที่ทางบริษัทใช้เวลาเก็บเงินแค่ 34 วัน เท่านั้น วงจรเงินสดของบริษัท A ถึงติดลบ
แต่ถ้าวงจรเงินสดเป็นบวก ก็หมายความว่า บริษัททำธุรกิจแล้ว ต้องจ่ายเงินคืนให้กับเจ้าหนี้ก่อน แล้วถึงจะเก็บเงินจากลูกค้าได้ทีหลัง
ถึงอย่างนั้น การมีวงจรเงินสดเป็นบวก ก็ไม่ได้หมายความว่า บริษัทจะต้องแย่เสมอไป เพราะธรรมชาติของธุรกิจแต่ละประเภท ก็มีวงจรเงินสดไม่เหมือนกัน
แต่ถ้าวงจรเงินสดเป็นบวก และยาวมากเกินไป ก็ควรต้องระวัง เพราะบริษัทอาจพบกับปัญหาการขาดสภาพคล่องได้
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็เชื่อว่าเราคงเข้าใจกันดีขึ้นบ้างแล้วใช่ไหมว่า อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัท มีอะไรบ้าง และจะนำไปใช้งานได้อย่างไร
วิธีการเหล่านี้ เมื่อนำไปใช้เพื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่ทำธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน จะช่วยให้เราเห็นภาพว่า บริษัทไหนแข็งแกร่งที่สุดในอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ถ้าเราสามารถนำไปใช้เปรียบเทียบกับบริษัทข้ามอุตสาหกรรม ก็จะยิ่งช่วยให้เราเห็นความแตกต่างของธรรมชาติของธุรกิจแต่ละประเภท ได้เข้าใจมากขึ้นอีกด้วย
และหากเรารู้จักฝึกนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้ ได้อย่างถูกต้องด้วยแล้ว ก็น่าจะช่วยทำให้เรา กลายเป็นคนที่วิเคราะห์ธุรกิจ ได้อย่างเฉียบคมมากขึ้น..
Sponsored by JCB
สัมผัสประสบการณ์ที่มากกว่ากับ บัตรเครดิต JCB
ที่มาพร้อมสิทธิพิเศษดี ๆ เพลิดเพลินทั้ง กิน เที่ยว ช้อป ในไทยและต่างประเทศ
พร้อมกับการให้บริการสุดพิถีพิถันทุกรูปแบบ
ที่มาพร้อมสิทธิพิเศษดี ๆ เพลิดเพลินทั้ง กิน เที่ยว ช้อป ในไทยและต่างประเทศ
พร้อมกับการให้บริการสุดพิถีพิถันทุกรูปแบบ
Facebook : JCB Thailand
LINE : @JCBThailand (https://bit.ly/JCBTHLine)
JCBThailand #JCBCard
JCBOwnHappinessOwnStory #อีกขั้นของความสุขในรูปแบบที่เป็นตัวคุณ
LINE : @JCBThailand (https://bit.ly/JCBTHLine)
JCBThailand #JCBCard
JCBOwnHappinessOwnStory #อีกขั้นของความสุขในรูปแบบที่เป็นตัวคุณ
Reference
หนังสือ Warren Buffett Accounting Book: Reading Financial Statements for Value Investing (2014) โดย Stig Brodersen และ Preston Pysh