3 สัญญาณเตือน ในงบการเงิน ว่าบริษัทจะมี ปัญหาสภาพคล่อง
13 พ.ย. 2023
ก่อนเลือกเข้าไปลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่งนั้น สิ่งหนึ่งที่ละเลยไม่ได้เลยก็คือ สภาพคล่องของบริษัท
เพราะถ้าหากบริษัทมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ก็อาจนำไปสู่การล้มละลายเลยทีเดียว
แต่บางครั้ง กว่าที่เราจะรู้ว่าบริษัทเกิดปัญหานี้ ก็สายเกินไปเสียแล้ว
รู้ไหมว่า เราสามารถจับสัญญาณเตือนได้ก่อน อย่างง่าย ๆ ในงบการเงิน
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
3 สัญญาณที่พอจะบอกได้ว่า ในอนาคตบริษัทอาจมีปัญหาสภาพคล่อง ก็คือ
หนี้สินเพิ่มสูงขึ้น
การที่ธุรกิจก่อหนี้ ไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป ถ้าหากบริษัทนำไปลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนจากการก่อหนี้
อย่างไรก็ตาม หนี้สินที่เพิ่มขึ้นมากจนเกินไป ก็ตามมาด้วยภาระดอกเบี้ย ที่บริษัทจะต้องจ่ายไปฟรี ๆ
และย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงที่บริษัทจะมีสภาพคล่องไม่เพียงพอ จนอาจนำไปสู่ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้
และย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงที่บริษัทจะมีสภาพคล่องไม่เพียงพอ จนอาจนำไปสู่ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้
ลูกหนี้การค้าเพิ่มสูงขึ้น
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อธุรกิจขายสินค้าหรือบริการออกไป จะเรียกเก็บเงินได้ 2 แบบด้วยกันคือ
รับเงินสดทันที เช่น ธุรกิจค้าปลีก, ธุรกิจสาธารณูปโภค อย่างทางด่วน หรือรถไฟฟ้า เป็นต้นรับเงินเป็นเงินเชื่อ หรือให้เครดิตเทอมกับลูกค้า
ซึ่งก็คือการขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้าไปก่อน แล้วค่อยเรียกเก็บเงินทีหลัง
ซึ่งก็คือการขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้าไปก่อน แล้วค่อยเรียกเก็บเงินทีหลัง
ส่วนใหญ่การให้เครดิตเทอม เรามักจะเจอในธุรกิจ B2B หรือการค้าขายระหว่างธุรกิจและธุรกิจด้วยกัน เช่น ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง หรือธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้า เป็นต้น
ด้วยความที่ยังไม่ได้รับเงินทันที ส่งผลให้ต้องบันทึกรายได้จากการขายเป็น “ลูกหนี้การค้า” ทำให้บริษัทมีความเสี่ยง ที่อาจไม่สามารถเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ครบตามจำนวน หรือตามเวลาที่กำหนดไว้
โดยการที่ลูกหนี้การค้ามากขึ้นนั้น แปลว่า ขายของได้ แต่ยังเรียกเก็บเงินไม่ได้ ซึ่งหากเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ กิจการก็จะไม่มีกระแสเงินสดไหลเข้า
แต่กลับมีกระแสเงินสดไหลออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อซื้อสินค้า, ซื้อวัตถุดิบ, จ่ายเงินเดือนพนักงาน และค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ทำให้สุดท้ายเงินทุนหมุนเวียนของกิจการจะเริ่มติดลบ ส่งผลให้สภาพคล่องเริ่มหดหาย และต้องหาแหล่งเงินกู้เพื่อมาเสริมสภาพคล่อง จนนำไปสู่ภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้น
หรือถ้าเลวร้ายกว่านั้น ถ้าหาเงินทุนมาเติมไม่ได้ ก็จะนำไปสู่การล้มละลายได้เช่นกัน
สินค้าคงเหลือเพิ่มสูงขึ้น
สินค้าคงเหลือ รวมตั้งแต่วัตถุดิบ, สินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต และสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว
โดยปกติเมื่อธุรกิจเติบโตขยายตัวมากขึ้น สินค้าคงเหลือก็มักจะเพิ่มขึ้น
ประเด็นคือ ถ้าสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นมาก ไม่สอดคล้องกับยอดขาย ก็อาจเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่อง เพราะเงินไปจมอยู่ที่สินค้าคงเหลือมากเกินไปนั่นเอง
นอกจากนี้ สินค้าคงเหลือบางประเภท ถ้ายิ่งเก็บไว้นาน ก็ยิ่งทำให้มูลค่าลดลง เช่น วัตถุดิบอาหารที่เสียง่าย, สินค้าเทคโนโลยีที่ล้าสมัยเร็ว
ซึ่งสินค้าคงเหลือเหล่านี้ ถ้าเกิดการด้อยค่า กิจการก็ต้องไปบันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่าในงบกำไรขาดทุนด้วย
ถึงตรงนี้ก็ต้องหมายเหตุไว้ว่า แม้ว่าบริษัทจะมีสัญญาณดังกล่าวครบทั้ง 3 ข้อ ก็ไม่ได้หมายความว่าบริษัทนั้นจะต้องเกิดปัญหาเสมอไป
แต่อย่างน้อยก็ถือเป็นสัญญาณเตือน ให้เราระมัดระวังในการลงทุนในบริษัทนั้น ๆ ได้มากขึ้น..