รู้จัก Money Dysmorphia อาการที่ มีเงินเก็บ มากแค่ไหน ก็ไม่พอใจเสียที
12 ธ.ค. 2022
รู้จัก Money Dysmorphia อาการที่ มีเงินเก็บ มากแค่ไหน ก็ไม่พอใจเสียที - BillionMoney
ในปัจจุบันนี้ ความสุขหลาย ๆ อย่าง ในชีวิตประจำวันของเรา จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ถ้าหากไม่มีสิ่งที่เรียกว่า
“เงิน” อยู่ในบัญชีธนาคาร หรือกระเป๋าเงินของเรา
“เงิน” อยู่ในบัญชีธนาคาร หรือกระเป๋าเงินของเรา
แต่อย่างไรก็ตาม การมีเงินมากมาย ก็ใช่ว่าจะทำให้เรามีแต่ความสุขเสมอไป เพราะในบางครั้ง การไม่รู้ว่า ต้องมีเงินมากแค่ไหนถึงจะพอ ก็อาจจะนำความทุกข์มาให้เราได้เหมือนกัน
ดังเช่น อาการ Money Dysmorphia ที่ BillionMoney จะพาทุกคน ไปทำความรู้จักกันในวันนี้
อาการ Money Dysmorphia คือ อาการที่แม้ว่าเราจะมีเงินเก็บมากมายแค่ไหน แต่เรากลับรู้สึกว่ามันยังไม่พอ และอยากที่จะเก็บเงินให้ได้มากกว่านี้ จนทำให้เราไม่กล้าที่จะใช้จ่ายเงิน ไปกับสิ่งของที่เราคิดว่าฟุ่มเฟือย
ยกตัวอย่างเช่น แม้เราจะมีเงินสำรองฉุกเฉิน ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากถึง 6 เดือนแล้ว เรากลับไม่ยอมเสียเงิน เพื่อออกไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน ที่ไม่ได้เจอกันมานานหลายปี หรือเสียเงินซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพ
เนื่องจากในหัวกำลังคิดอยู่ว่า ของพวกนี้นั้น มีราคาแพงเกินไป และการใช้จ่ายเงินไปกับสิ่งเหล่านี้ จะทำให้เราไม่สามารถเก็บเงินได้เพียงพอ สำหรับอนาคต ทั้งที่เราเองก็มีเงินเก็บมากมายอยู่แล้ว
ทำให้ในทุก ๆ วัน เราต้องใช้ชีวิตอยู่ ภายใต้ความเครียดสูงตลอดเวลา แถมคุณภาพชีวิต ก็ยังไม่ค่อยดีนัก เพียงเพราะเราแค่อยากจะมีเงินเก็บมาก ๆ
แน่นอนว่า การที่เราเป็นแบบนี้ ก็ย่อมส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของตนเองอย่างมากด้วย จนอาจจะนำไปสู่โรคต่าง ๆ ที่ตามมาในที่สุด
โดยสาเหตุที่ทำให้เรามีอาการ Money Dysmorphia นั้น หลัก ๆ แล้ว อาจจะมาจาก 3 สาเหตุ
1.กังวลกับสถานะทางการเงิน ของตนเองในอนาคต มากจนเกินไป
เพราะเรากลัวว่า อาจจะมีเหตุการณ์บางอย่างในอนาคต เช่น เจ็บป่วยหนัก ต้องใช้เงินในการรักษาจำนวนมาก จนทำให้เงินที่เราเก็บไว้ไม่พอใช้ เราจึงไม่กล้าที่จะใช้จ่ายเงิน เพราะกลัวไม่มีเงินไว้ใช้ในอนาคต
เพราะเรากลัวว่า อาจจะมีเหตุการณ์บางอย่างในอนาคต เช่น เจ็บป่วยหนัก ต้องใช้เงินในการรักษาจำนวนมาก จนทำให้เงินที่เราเก็บไว้ไม่พอใช้ เราจึงไม่กล้าที่จะใช้จ่ายเงิน เพราะกลัวไม่มีเงินไว้ใช้ในอนาคต
2.กดดันตัวเองมากเกินไป
ด้วยความที่ปัจจุบัน พฤติกรรมการเก็บเงินคราวละมาก ๆ เพื่อจะได้เกษียณอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียก FIRE กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทำให้การที่คนรอบข้าง ตั้งใจที่จะเกษียณเร็วแบบนี้ ก็จะส่งแรงกดดันมาให้เรา ไม่กล้าที่จะใช้จ่ายเงินไปกับความสุขของตัวเอง
3.มีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการใช้เงิน
การที่เรามีประสบการณ์ที่ไม่ดี เกี่ยวกับเรื่องเงินในอดีต อาจจะส่งผลให้ในปัจจุบัน เรากลายเป็นคนที่ไม่กล้าใช้จ่ายเงินเลยก็ได้
อย่างเช่น ผู้ใช้งานเว็บบอร์ด Reddit คนหนึ่ง ที่ได้เล่าว่า ตัวเองมีอาการ Money Dysmorphia เนื่องจากในวัยเด็กของเขานั้น แม้เขาจะเกิดในบ้านที่มีฐานะดี แต่ด้วยความที่พ่อแม่ของเขาใช้เงินอย่างไม่ระมัดระวัง ทำให้ที่บ้านล้มละลาย
ส่งผลให้ในปัจจุบัน เขาเป็นคนที่ไม่กล้าใช้จ่ายเงิน และต้องเก็บเงินให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ อยู่ตลอดเวลา เพราะเขาไม่รู้ว่าต้องมีเงินเก็บมากแค่ไหน ถึงจะไม่กลับไปอยู่ในสถานะล้มละลาย แบบที่พ่อแม่ของเขาเคยเป็นในอดีต
ปัญหานี้ กำลังเริ่มเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ เช่นผลการสำรวจของ สมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (APA) ในปี 2020 ได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ใหญ่กว่า 64% ระบุว่า สาเหตุหลักของความเครียด มาจากเรื่องเงิน
นอกจากนี้ ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัย Kansas State ที่ศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดเรื่องการเงิน ในนักศึกษาจำนวนกว่า 180 คน
ยังได้แสดงให้เห็นด้วยว่า ความพึงพอใจในสถานะทางการเงินของตนเอง เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความเครียดในเรื่องการเงิน มากกว่าจำนวนหนี้สินเสียอีก
เช่นเดียวกันกับประชาชนชาวไทยเองนั้น ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้โดยไม่รู้ตัวเช่นกัน เพราะจากการสำรวจของ Statista ได้พบว่า ความกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของตัวเองในอนาคต ถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความเครียด ของทั้งคน Gen Y และ Gen Z
โดยในส่วนของคน Gen Z นั้น มีกว่า 67% เลยทีเดียว ที่ได้ระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดอันดับ 1 คือ ความกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของตัวเองในอนาคต
วิธีที่จะทำให้อาการนี้ดีขึ้นนั้น ถ้าหากไม่รุนแรงมาก เราอาจจะลองปรับความคิดของตัวเองเสียใหม่ เช่น ถ้าหากสุขภาพทางการเงินของเราไม่ได้มีปัญหา
กล่าวคือ เรามีเงินสำรองฉุกเฉินครอบคลุมค่าใช้จ่าย 3-6 เดือน, มีเงินเก็บเพียงพอกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้แล้ว หรือสามารถเก็บเงินได้ทุก ๆ เดือนติดต่อกัน
เราอาจจะอนุญาตให้ตัวเอง ซื้อของฟุ่มเฟือยบ้าง เพื่อเป็นรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับตัวเอง ที่สามารถรักษาสุขภาพทางการเงินเป็นอย่างดีก็ได้
แต่ถ้าหากเราลองปรับแล้ว แต่เราก็ยังมีความกังวลอยู่เช่นเดิม หรือว่าในอดีต เราเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดี เกี่ยวกับเรื่องเงิน ก็อาจจะต้องปรึกษากับนักจิตวิทยา เพื่อช่วยให้อาการของเราดีขึ้น
เพราะฉะนั้นแล้ว หลังจากนี้เราอาจจะต้องลองสำรวจดูว่าตัวเราเองมีอาการแบบนี้หรือไม่ เพราะถ้าหากเราเอาแต่หักโหมเก็บเงินอย่างเดียว จนไม่ยอมใช้จ่ายแบบนี้
เงินเก็บอันมากมายที่เรามี อาจจะเสียไปกับการรักษาตัวเอง แทนที่จะช่วยให้เรามีชีวิตอย่างสะดวกสบาย เมื่อยามเกษียณ ก็เป็นได้..
References
-https://www.timevaluemillionaire.com/money-dysmorphia/
-https://www.apa.org/news/press/releases/stress/2020/report-october
-https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1043230.pdf
-https://www.statista.com/statistics/1288047/thailand-stress-factors-among-millennials/
-https://www.statista.com/statistics/1345810/thailand-leading-stress-factors-among-gen-zs/
-https://fiscalfitnessphx.com/free-your-mind-from-money-dysmorphia
-https://www.timevaluemillionaire.com/money-dysmorphia/
-https://www.apa.org/news/press/releases/stress/2020/report-october
-https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1043230.pdf
-https://www.statista.com/statistics/1288047/thailand-stress-factors-among-millennials/
-https://www.statista.com/statistics/1345810/thailand-leading-stress-factors-among-gen-zs/
-https://fiscalfitnessphx.com/free-your-mind-from-money-dysmorphia