สรุปธุรกิจ Amazon เปลี่ยนตัวเองอย่างไร ถึงเติบโต จนใหญ่กว่าคู่แข่ง ได้เกือบ 10 เท่า

สรุปธุรกิจ Amazon เปลี่ยนตัวเองอย่างไร ถึงเติบโต จนใหญ่กว่าคู่แข่ง ได้เกือบ 10 เท่า

13 ก.ย. 2024
แม้เผชิญคู่แข่งมากมาย แต่ช่องว่างระหว่าง Amazon บริษัทอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่สุดในโลก กับคู่แข่งอันดับ 2 อย่าง Alibaba ในปัจจุบันคือเกือบ 10 เท่า
เพราะถ้าเราไปดูมูลค่าบริษัทอีคอมเมิร์ซใหญ่สุด 3 อันดับแรกของโลก จะพบว่า 
- อันดับ 1 Amazon 62.1 ล้านล้านบาท
- อันดับ 2 Alibaba 6.5 ล้านล้านบาท
- อันดับ 3 Pinduoduo 4.3 ล้านล้านบาท
ถ้าเป็นเพียงแค่แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ทั่วไป Amazon ก็คงมาไม่ได้ถึงจุดนี้ แต่เพราะ Amazon มีธุรกิจระบบคลาวด์ AWS ที่ใช้กันทั่วโลก 
และตอนนี้คนไทยก็สามารถเป็นเจ้าของ Amazon 
ง่ายขึ้น ผ่านการซื้อ DRx ในตลาดหุ้นไทย ที่มีชื่อว่า AMZN80X ได้แล้ว 
แล้วธุรกิจระบบคลาวด์ AWS ทำให้ Amazon ติดจรวดจนทิ้งห่างคู่แข่งอย่างไม่เห็นฝุ่น ได้อย่างไร ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
Amazon เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่ไม่ต่างอะไรกับ
เจ้าอื่นที่เราคุ้นเคยกัน เช่น Alibaba, Pinduoduo, Temu, Shopee, Lazada, TikTok 
แต่จุดเด่นที่ Amazon ไม่เหมือนกับอีคอมเมิร์ซเจ้าอื่น
นั่นคือ การที่แพลตฟอร์มขายสินค้าด้วยตัวเอง และเก็บ
ค่าธรรมเนียมจากร้านค้าที่มาขายบนแพลตฟอร์ม 
รวมทั้งบริการคลังสินค้าให้กับร้านค้าที่ต้องการใช้
และบริการ Amazon Prime ที่ให้ลูกค้าจ่ายรายเดือน แลกกับการส่งฟรี พร้อมสิทธิพิเศษอื่น ๆ 
จุดเด่นเพียงเท่านี้ ก็คงไม่ทำให้ Amazon ดูแตกต่างจากคู่แข่งเจ้าอื่นมากนัก เพราะสุดท้าย คู่แข่งก็เลียนแบบ เอาไปใช้กับแพลตฟอร์มและไล่ตามทันได้อยู่ดี
แต่สิ่งที่ทำให้ Amazon แตกต่างจากคู่แข่งมหาศาล คือการมีรายได้อีกทางจากธุรกิจให้บริการคลาวด์ ที่ชื่อว่า AWS..
AWS เริ่มต้นจากไอเดียของวิศวกรคนหนึ่งของ Amazon 
ที่อยากจัดการปัญหาระบบหลังบ้านของแพลตฟอร์ม ที่กำลังมีสินค้ามากขึ้นเรื่อย ๆ 
หลังจากทำระบบซอฟต์แวร์ออกมา ก็เอาไปปล่อยเป็น Open Source ที่อนุญาตให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์คนอื่น
เอาไปพัฒนาต่อยอดการใช้งานได้
แต่พอเวลาผ่านไป ซอฟต์แวร์อันนี้กลับได้รับความนิยมสูง และถูกเอาไปต่อยอดมากขึ้น จนทำให้คุณเจฟฟ์ เบโซส 
ผู้ก่อตั้ง Amazon มองว่า นี่เป็นโอกาสทำเงินมหาศาล
สุดท้ายในปี 2006 Amazon ตัดสินใจพัฒนาซอฟต์แวร์ตรงนี้ต่อ จนกลายเป็น AWS ออกมาขายให้กับองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการใช้งานคลังเก็บข้อมูลออนไลน์ 
แทนที่จะต้องลงทุนทั้งตู้เซิร์ฟเวอร์และระบบของตัวเอง
แทบทั้งหมด ก็สามารถมาใช้บริการ AWS เป็นตัวเลือก
ที่ถูกกว่า แถมยังปรับการใช้งานให้เหมาะกับธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างทันที 
จนปัจจุบัน AWS ที่กลายมาเป็นกระดูกสันหลังให้กับบริษัททั่วโลก ไล่ตั้งแต่ Netflix, Airbnb, Facebook, Twitter, Spotify และ Adobe ที่เราใช้บริการอยู่ทั้งนั้น
AWS เป็นแหล่งรายได้หลักของ Amazon อย่างต่อเนื่อง จากในปี 2013 ที่มียอดขายแค่ 4% ของยอดขายบริษัทเท่านั้น
แต่ในปีที่ผ่านมา ยอดขาย AWS ตรงนี้คิดเป็น 15% 
ของยอดขายบริษัททั้งหมดเลยทีเดียว 
แถมในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา ยอดขาย AWS มีการเติบโตมากถึง 40% ต่อปี โตแรงกว่ายอดขายรวมของ Amazon
ที่เติบโตแค่ 23% ต่อปีเท่านั้น 
ซึ่ง AWS ยังโตระเบิด แซงหน้ายอดขายธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอเมริกาเหนือ ที่เติบโต 24% ต่อปี และธุรกิจอีคอมเมิร์ซในส่วนอื่น ๆ ของโลก ที่เติบโตเพียง 16% ต่อปี
และที่น่าสนใจคือ AWS ยังกลายเป็นตัวแบกในการทำกำไรของ Amazon อีกด้วย 
เพราะในปีที่ผ่านมานั้น AWS มีอัตรากำไรจากการดำเนินงานที่มากถึง 27% ซึ่งถือว่าสูงมาก 
ถ้าหากเทียบกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่มีอัตรากำไรจากการดำเนินงานในสหรัฐฯ อยู่เพียงแค่ 4% แถมยังขาดทุนในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกอีกต่างหาก
ถึงตรงนี้ หลายคนก็คงเข้าใจแล้วว่า Amazon เปลี่ยนตัวเองอย่างไร ทำไมถึงแซงหน้าคู่แข่งเบอร์รองอย่าง Alibaba และ Pinduoduo ได้แบบขาดลอย 
ซึ่งในปัจจุบันนี้ และอาจจะรวมถึงในอนาคตข้างหน้า ธุรกิจคลาวด์อย่าง AWS ก็น่าจะยังคงเป็นเครื่องยนต์หลัก ที่ผลักดันให้ Amazon เติบโตต่อไป
และน่าจะทำให้ Amazon รักษาตำแหน่ง บริษัทอีคอมเมิร์ซเจ้าเดียวในโลก ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปได้อีกนาน..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำ ให้ซื้อหรือขายหุ้นเหล่านี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน ก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
#ลงทุน
#DRx
#สรุปDRวันละตัว
References
© 2024 MONEY LAB. All rights reserved. Privacy Policy.