เข้าใจ TESG กองทุนลดหย่อนภาษีอันใหม่ ในโพสต์เดียว
15 พ.ย. 2023
เมื่อวานนี้ กระทรวงการคลัง ได้ออกมาประกาศว่า จะตั้งกองทุนใหม่ ที่มีชื่อว่า TESG ซึ่งจะเน้นลงทุนในหุ้นไทย หรือตราสารหนี้ ที่มีแนวคิดด้านความยั่งยืน
คือเป็นกลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม, สังคม และธรรมภิบาล หรือที่เรียกว่า ESG
โดยเป้าหมายของกองทุนนี้ก็คือ การสนับสนุนให้คนไทยเก็บออม และกองทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ พร้อมทั้งเป็นการสนับสนุน กลุ่มธุรกิจในตลาดหุ้นไทย ที่มี ESG ด้วย
ที่สำคัญคือ เรายังสามารถซื้อกองทุนนี้ เพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจากการซื้อ SSF และ RMF ปกติ ได้อีก 1 แสนบาทด้วย
แล้วกองทุนนี้มีเงื่อนไขและประโยชน์กับคนทั่วไปอย่างไร?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
รายละเอียดของกองทุน TESG สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้
บุคคลธรรมดา สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
ทางกระทรวงการคลังอนุญาตให้ ผู้ลงทุนสามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อกองทุนไปลดหย่อนภาษีได้ สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
แต่ผู้ลงทุนจะไม่สามารถถอนเงินลงทุนออกไปได้ จนกว่าจะครบกำหนดอายุการลงทุน 8 ปี นับแบบวันชนวัน
เป็นการออมเงินเพื่อลงทุนในธุรกิจที่มีความยั่งยืน
จากเป้าหมายการลงทุนของกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น หรือตราสารหนี้ ที่ออกโดยบริษัทที่ได้รับการประเมินจากตลาดหลักทรัพย์ว่า เป็นธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม, สังคม และมีธรรมาภิบาลที่ดี
นักลงทุนจะได้รับความมั่นใจว่า เงินลงทุนที่ลงทุนไป จะเข้าไปลงทุนเฉพาะในบริษัทที่ทำธุรกิจอย่างยั่งยืน
ซึ่งหากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ออกกองทุนนี้ได้ เราก็น่าจะสามารถลงทุนในกองทุนนี้ได้ในช่วงเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งก็จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีของปี 2566 ได้เลย
แล้วกองทุนนี้ต่างกับกองทุน RMF หรือ SSF ที่มีอยู่แล้วอย่างไร?
นโยบายในการลงทุน
โดยทั้ง RMF และ SSF จะสามารถลงทุนในหุ้น ทั้งในและต่างประเทศได้ ในขณะที่ TESG นั้น จะเน้นไปที่หุ้นในประเทศ และต้องเป็นหุ้นกลุ่มที่ได้รับการประเมิน ESG Rating จากทางตลาดหลักทรัพย์ด้วย
ระยะเวลาในการถือ
SSF จะต้องถืออย่างน้อย 10 ปีRMF จะต้องถือไปจนอายุ 55 ปี แต่ถ้าซื้อหลังอายุ 51 ปี ก็จะต้องถือไปอีกอย่างน้อย 5 ปี
ในขณะที่ TESG กำหนดระยะเวลาในการถือไว้อยู่ที่ 8 ปี
จะเห็นได้ว่า TESG จะมีระยะเวลาในการถือขั้นต่ำ สั้นกว่าทั้ง 2 กองทุน ทำให้กองทุน TESG มีความยืดหยุ่นมากกว่า
การลดหย่อนภาษีรายได้
แม้ทั้ง 3 กองทุน จะลดหย่อนภาษีได้ที่ 30% ของรายได้เหมือนกันก็จริง แต่ว่าจำนวนเงินที่ลดหย่อนสูงสุด ของแต่ละกองทุน ก็แตกต่างกัน ได้แก่
RMF ลดหย่อนได้สูงสุด 500,000 บาทSSF ลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาทTESG ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
แต่กองทุน SSF และ RMF จะะมีเงื่อนไขอยู่ด้วยว่า
จำนวนเงินของทั้ง SSF และ RMF เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนออมแห่งชาติ ประกันหรือกองทุนบำนาญอื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
จำนวนเงินของทั้ง SSF และ RMF เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนออมแห่งชาติ ประกันหรือกองทุนบำนาญอื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเราลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน RMF ไป 400,000 บาทแล้ว เราก็จะได้เงินลดหย่อนจาก SSF เพียงแค่ 100,000 บาท รวมลดหย่อนภาษีทั้งหมดเป็น 500,000 บาท เท่านั้น
ในขณะที่ TESG อ้างอิงจากประกาศในตอนนี้ก็คือ แม้จะลดหย่อนได้สูงสุดแค่ 100,000 บาทก็จริง แต่ไม่ได้จำกัดเงื่อนไขการลงทุนรวมกับกองทุนลดหย่อนภาษีอื่น ๆ
ทำให้ถ้าหากเราลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน SSF และ RMF ไปเต็มสิทธิ์แล้ว ที่ 500,000 บาท
เราก็จะสามารถลดหย่อนด้วย TESG เพิ่มได้อีก 100,000 บาท รวมแล้วเป็น 600,000 บาท
เราก็จะสามารถลดหย่อนด้วย TESG เพิ่มได้อีก 100,000 บาท รวมแล้วเป็น 600,000 บาท
สรุปแล้วกองทุน TESG กับกองทุน SSF เหมาะกับใคร ?
สำหรับคนที่หากองทุนลดหย่อนภาษี ที่สามารถลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้ แต่ก็ยอมรับการลงทุนที่มีระยะเวลานานกว่า ก็เหมาะกับการลงทุนในกองทุน SSF หรือ RMF
สำหรับคนที่มองหาการลงทุนในประเทศ ในธุรกิจที่มีความยั่งยืน และมีระยะเวลาการลงทุนที่สั้นกว่า SSF หรือ RMF
การลงทุนในกองทุน TESG ก็น่าจะตอบโจทย์มากกว่า
การลงทุนในกองทุน TESG ก็น่าจะตอบโจทย์มากกว่า
ส่วนคนที่ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี จากการซื้อกองทุน SSF และ RMF จนเต็มสิทธิ์แล้ว
การซื้อกองทุน TESG เพิ่มก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจทีเดียว..
การซื้อกองทุน TESG เพิ่มก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจทีเดียว..