Christian Klein จากเด็กฝึกงาน สู่การเป็นซีอีโอบริษัทมูลค่า 8 ล้านล้านบาท

Christian Klein จากเด็กฝึกงาน สู่การเป็นซีอีโอบริษัทมูลค่า 8 ล้านล้านบาท

2 ส.ค. 2024
ถ้าหากลองนึกย้อนไปถึง ตอนที่หลายคนยังเป็นเด็กฝึกงานอยู่ คุณเคยบอกกับตัวเองไหมว่า “ฉันจะมาเป็น CEO ของบริษัทนี้”  
แน่นอนว่าเป้าหมายนี้ ดูจะเป็นไปได้ยาก เพราะถ้าเทียบกับประสบการณ์ และความรู้ความสามารถ ของเด็กฝึกงานที่ยังเรียนไม่จบด้วยซ้ำ ย่อมต่างกันกับ CEO อย่างลิบลับ 
แต่คนที่ทำสิ่งนี้ให้เป็นจริง ก็คือคุณ Christian Klein 
CEO คนปัจจุบัน ของบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่ มูลค่ากว่า 8.63 ล้านล้านบาท จากเยอรมนี อย่าง “SAP” 
เพราะตัวของเขาเองนั้นเริ่มต้นสายอาชีพนี้ มาตั้งแต่การเป็นเด็กฝึกงานของบริษัท เมื่อ 25 ปีที่แล้ว
แล้วเส้นทางจากสามัญสู่สูงสุด ของคุณ Christian Klein เป็นอย่างไร ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
จุดเริ่มต้นของคุณ Christian กับ SAP นั้นเริ่มต้นตั้งแต่สมัยที่ตัวเขาเอง กำลังศึกษาด้านการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ กับทาง University of Cooperative Education ประเทศเยอรมนี ในช่วงปี 1999 
ซึ่งเป็นปีที่บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง กำลังเกิดความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ Y2K ที่นับเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านสหัสวรรษ จนอาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติไปทั่วโลก
แต่ถึงอย่างนั้นคุณ Christian ก็ยังได้มีโอกาสเข้าฝึกงานกับทาง SAP ในช่วงเวลาดังกล่าว ควบคู่ไปกับการศึกษาในมหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลา 2 ปี 
ก่อนที่ตัวเขาเองจะจบการศึกษา และได้เข้าบรรจุ เป็นพนักงานประจำในตำแหน่งเกี่ยวกับ “ด้านการเงิน และการบริหาร”
ด้วยความมุ่งมั่น และความเก่งกาจในการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นอาชีพ รวมถึงวัฒนธรรมองค์กรของ SAP ที่เน้นสนับสนุนบุคลากรอยู่เสมอ 
คุณ Christian จึงสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด จนเลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งสายบริหาร ทั้งการเป็น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุม และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ของ SAP
ด้วยผลงานการบริหารที่ยอดเยี่ยม ในปี 2019 คุณ Christian ได้รับตำแหน่งเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ CEO ของ SAP ร่วมกับคุณ Jennifer Morgan ด้วยอายุเพียง 39 ปีเท่านั้น 
หลังจากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น CEO เพียงผู้เดียว นับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา 
SAP ภายใต้การบริหารงานของคุณ Christian สามารถพูดได้ว่าเป็นยุคทองอย่างแท้จริง เพราะเขาได้ผลักดันในการพัฒนา “ระบบคลาวด์” ให้แข็งแกร่ง และทรงประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
ซึ่งสอดคล้องกับยุคที่การเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล กำลังเติบโต
ถึงแม้ว่าช่วงแรกของการผลักดัน จะมีอุปสรรคเกิดขึ้นบ้าง จนถึงขั้นเกิดการเรียกร้องจากบอร์ดบริหาร ให้ถอดถอนตัวเขาออกจากการเป็น CEO 
เพราะการปรับเปลี่ยนแผนการเงิน โดยเน้นไปที่การทุ่มพัฒนาในระบบคลาวด์ ทำให้มูลค่าบริษัทต้องลดลงกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในเวลาครึ่งเดือนเท่านั้น 
แต่ด้วยวิสัยทัศน์ที่แน่วแน่ บวกกับการสนับสนุนจากประธานบริษัท ก็ทำให้ปัจจุบัน SAP ก้าวผ่านจุดนั้นมาได้ และกลายเป็นหนึ่งในบริษัทซอฟต์แวร์ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากความโดดเด่นในด้านของ “คลาวด์เทคโนโลยี” 
โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถสร้างรายได้จากสัดส่วนของระบบคลาวด์ เพิ่มขึ้นถึง 23% เมื่อเทียบกับปีก่อน
นอกจากนี้ ธุรกิจในส่วนอื่น ๆ ของ SAP ก็มีระดับการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น
- ธุรกิจ “การวางแผนทรัพยากรองค์กร” (ERP) ที่ใช้ระบบเรือธงของบริษัทอย่าง S/4HANA นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ ที่มีอัตราการเติบโตกว่า 67% เมื่อเทียบกับปีก่อน ในปี 2023 
- ธุรกิจ Business Technology Platform (BTP) หรือแพลตฟอร์มเทคโนโลยีธุรกิจแบบครบวงจรของ SAP ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีอัตราการเติบโต ที่เพิ่มมากถึง 42% ในช่วงปี 2023 ที่ผ่านมาเช่นกัน
ด้วยผลงานการบริหารบริษัทที่โดดเด่น CEO ที่บอร์ดบริหารเคลือบแคลงใจในวันนั้น ก็ได้ถูกต่อสัญญาออกไปจนถึงปี 2028 
ก็เป็นที่น่าสนใจว่า SAP จะมีนวัตกรรมอะไรใหม่ ๆ ออกมาเพื่อสร้างกำไรให้กับบริษัทอีกครั้งหรือไม่ ท่ามกลางยุคแห่งการแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่รวดเร็ว
และทั้งหมดนี้เองก็คือเรื่องราวของคุณ Christian Klein เด็กฝึกงานที่ก้าวขึ้นมาเป็นหัวเรือใหญ่ ของบริษัทระดับโลก มูลค่า 8.63 ล้านล้านบาท 
และอาจจะสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับบริษัท ต่อไปได้อีกในอนาคต.. 
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ SAP เองก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นกระดูกสันหลังให้กับบริษัทหลายเจ้าในไทยอีกด้วย เช่น
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) ได้มีการใช้งานระบบ SAP ECC 6.0 เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการจัดการด้านการเงิน การบริหารทรัพยากรบุคคล และการจัดการคลังสินค้า 
- บริษัทลูกอย่าง OR ก็ได้นำร่องเริ่มใช้ระบบ SAP S/4HANA ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา เช่นเดียวกัน
- บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ ThaiBev ได้เริ่มใช้ระบบ ERP ภายใต้ชื่อ SAP ครั้งแรกในช่วงปี 2001 ก่อนจะตัดสินใจนำระบบนี้มาใช้กับบริษัทอื่น ๆ ด้วย
—-----------------------------------------
หุ้น SAP อยู่ใน MEGA10 EURO
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัททรงอิทธิพลในยูโรโซน กับ MEGA10EURO
- กองทุนเปิด MEGA10EURO ชนิดสะสมมูลค่า (MEGA10EURO-A) ชนิดเพื่อการออม (MEGA10EURO-SSF) และกองทุนเปิด MEGA10EURO เพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA10EURORMF) เป็นกองทุนที่จะเข้าไปลงทุนในบริษัทที่อยู่ใน Euro Stoxx 50 ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มประเทศยูโรโซน
โดยคัดเลือกมาจากบริษัท ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูง และมีสภาพคล่องสูง จำนวน 10 บริษัท เช่น LVMH, Hermès, Inditex (เจ้าของ Zara) และ EssilorLuxottica*
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น 
MEGA10EURO-A เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
MEGA10EURO-SSF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว 
MEGA10EURORMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ 
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส โทร. 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
ผู้สนับสนุนการขาย ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
3. บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
4. บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
6. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
8. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
9. บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
10. บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
11. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
12. บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
13. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
14. บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
15. บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)
16. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
17. บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
18. บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
19. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
20. บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
21. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
22. บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
23. บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
24. บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
25. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
26. บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
27. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 
28. บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด
29. บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ และเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวม ก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน
กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศ มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ และหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
References: 
© 2024 MONEY LAB. All rights reserved. Privacy Policy.