“นวัตกรรมกรีน” จะช่วยอย่างไร เมื่อภาวะโลกเดือด อาจทำเศรษฐกิจไทยเสียหาย 8 ล้านล้านบาท 

“นวัตกรรมกรีน” จะช่วยอย่างไร เมื่อภาวะโลกเดือด อาจทำเศรษฐกิจไทยเสียหาย 8 ล้านล้านบาท 

12 มิ.ย. 2024
SCG x MONEY LAB 
แม้ปี 2566 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกมา แต่ตอนนี้ดูเหมือนโลกจะเดือดขึ้นเรื่อย ๆ เฉลี่ย 0.15-0.20 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ
หากปัญหานี้ยังรุนแรงขึ้น ภายในปี 2593 อุณหภูมิโลกอาจเพิ่มถึง 3.2 องศาเซลเซียส จนก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจทั่วโลก 
ส่วนเฉพาะประเทศไทย จะเสียหายกว่า 218,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 8 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 44% ของ GDP 
ไม่ว่าจะเป็น
- ภาคเกษตรกรรม 
เมื่อโลกเดือดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือภัยแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตลดลง เกษตรกรจึงมีรายได้ลดลง เกิดหนี้เสียสูงขึ้น และกระทบสภาพคล่องของสถาบันการเงินในที่สุด ขณะที่ผู้บริโภคก็ต้องแบกรับค่าครองชีพสูงขึ้น จากดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น แต่ซัปพลายสินค้าการเกษตรลดลง
- ภาคอุตสาหกรรม 
แม้จะใช้น้ำไม่เท่าภาคเกษตรกรรม แต่การขาดแคลนน้ำก็ทำให้โรงงานต้องลดกำลังการผลิต 
ทรัพยากรอื่น ๆ ก็อาจขาดแคลน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งต่อการผลิตเพื่อการอุปโภคบริโภคในประเทศ และการส่งออกที่จะนำรายได้เข้าสู่ประเทศ
SCG องค์กรชั้นนำที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมายาวนาน 
จึงมุ่งพัฒนา “Green Innovation” หรือ “นวัตกรรมกรีน” ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคธุรกิจชั้นนำของไทยและระดับโลก รวมทั้งคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ 
ไม่เพียงช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้องค์กร คู่ค้า หรือคู่ธุรกิจ 
แต่ยังช่วยให้ประเทศเราไปสู่ “สังคมคาร์บอนต่ำ” ที่คุณภาพชีวิตของผู้คนและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น หรือเรียกว่าเป็น “Inclusive Green Growth” 
คือการสร้างการเติบโตด้วยนวัตกรรมกรีนแบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
วันนี้ MONEY LAB จะพาไปดูตัวอย่างนวัตกรรมกรีนของ SCG ที่น่าสนใจ 
เพื่อเป็นไอเดียให้ภาคธุรกิจไทย ปรับตัวเดินหน้าสร้าง “สังคมคาร์บอนต่ำ” ให้ “เป็นไปได้ไปด้วยกัน”
1. Green Construction & Smart Living 
นวัตกรรมพลิกโฉมการก่อสร้างให้กรีน อยู่อาศัยสมาร์ต 
การก่อสร้างเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค คมนาคมขนส่ง อาคารสำนักงาน หรือที่อยู่อาศัย
การมีนวัตกรรมที่ช่วยให้การก่อสร้างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง จนถึงการใช้ชีวิตของผู้คน จึงเป็นสิ่งสำคัญ 
อย่างการพัฒนา “ปูนคาร์บอนต่ำ” ของ SCG ที่ทำให้ปูน 1 ตัน ลดการปล่อยคาร์บอนฯ จากกระบวนการผลิตได้ถึง 15-20% โดยเฉพาะจากการเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดในกระบวนการผลิต
และอนาคต SCG ก็ตั้งเป้าว่าจะผลิตปูนคาร์บอนต่ำที่ลดการปล่อยคาร์บอนฯ ให้ได้ถึง 50% แต่ยังแข็งแรง ทนทาน รับกำลังอัดได้เทียบเท่าปูนซีเมนต์ทั่วไป
เป็นที่น่ายินดี ที่ปัจจุบันสัดส่วนการใช้ปูนคาร์บอนต่ำแทนปูนปกติของไทยอยู่ที่ 70% แล้ว 
และจะดียิ่งกว่า หากทุกภาคส่วนร่วมกันผลักดันตัวเลขนี้ให้แตะ 100%
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.cpac.co.th 
ขณะที่การใช้งานอาคารขนาดใหญ่ต่าง ๆ ก็สามารถใช้นวัตกรรมจาก “ONNEX by SCG Smart Living” เพื่อช่วยลดคาร์บอนฯ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น
1) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการอาคารและลดต้นทุนธุรกิจ
- SCG Wireless Monitoring 
เปลี่ยนการบริหารจัดการอาคารให้เป็นระบบอัจฉริยะ ด้วยระบบตรวจจับ ตรวจวัด และส่งข้อมูลไร้สายประสิทธิภาพสูง ที่ใช้ IoT ช่วยติดตามสถานะของอุปกรณ์และเครื่องจักรในอาคาร ประเมินความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
2) การลดการใช้พลังงานและเพิ่มอากาศสะอาด
- SCG Air Scrubber 
ระบบบำบัดอากาศเสีย พร้อมช่วยลดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ 
จึงลดค่าไฟได้ 10-20% และช่วยลดการปล่อยคาร์บอนฯ จากการใช้พลังงานที่ลดลง 
3) การเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- Microgrid and Energy Storage System 
ระบบบริหารจัดการการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมระบบกักเก็บพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์
- SCG Solar Carport & Solar Hybrid Solutions 
เปลี่ยนพื้นที่ว่างให้เป็นแหล่งพลังงานสะอาด ด้วย Solar Carport ที่สามารถผลิตไฟฟ้าให้อาคาร พร้อมลดต้นทุนค่าไฟ 
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.scgsmartliving.com 
2. Green Farming 
นวัตกรรมเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน
จากสถิติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไทยปี 2566 พบว่า 15.2% ของคาร์บอนฯ 372 ล้านตัน มาจากการเกษตร โดยเฉพาะกระบวนการต่าง ๆ ในการปลูกข้าว เช่น การใส่ปุ๋ย การขังน้ำในนาข้าว และการใช้เชื้อเพลิง
หนึ่งในวิธีช่วยลดการปล่อยคาร์บอนฯ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร และเพิ่มขีดความสามารถในภาคเกษตรของอาเซียนได้ยั่งยืน จึงเป็นการนำ “Smart Farming” หรือ “เกษตรอัจฉริยะ” มาปรับใช้กับการเกษตรแบบดั้งเดิม โดยความร่วมมือของ KUBOTA และพาร์ตเนอร์ ในการพัฒนานวัตกรรมกรีนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
1) โซลูชันการเพาะปลูกพืช
- โซลูชันเกษตรทฤษฎีใหม่ 
การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ปลูกพืชผสมผสานพืชหมุนเวียน การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวแบบปลอดการเผา ด้วยการอัดฟางข้าวและไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยและเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
- โซลูชันเกษตรปลอดนาหว่าน 
การใช้เทคโนโลยีปักดำ หยอดข้าว หยอดข้าวแห้ง และหยอดข้าวโพดและพืชตระกูลถั่ว ที่ลดต้นทุนและการสิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ถึง 50-70%
- โซลูชันเกษตรแม่นยำข้าว 
ช่วยลดต้นทุนและการสิ้นเปลืองปุ๋ย รวมถึงความสูญเสียผลผลิตจากปัญหาข้าวล้ม
2) โซลูชันการจัดการน้ำ
- โซลูชันการให้น้ำที่เหมาะสมกับความต้องการของพืช 
ด้วยระบบให้น้ำพืชอัจฉริยะ โดยใช้เซนเซอร์วัดความชื้นในดิน ก่อนดูแลจัดการผ่านแอปพลิเคชัน
- โซลูชันการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
ด้วยการนำน้ำในสระเลี้ยงปลามาให้น้ำแก่พืช
- โซลูชันการระบายน้ำใต้ดิน 
เพื่อลดความสูญเสียผลผลิตจากน้ำท่วมขัง และยังนำน้ำใต้ดินมาหมุนเวียนใช้ให้น้ำพืชได้อีกครั้ง
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://kas.siamkubota.co.th 
3. Green Collaboration 
ความร่วมมือเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมกรีน
อาทิ โครงการ “Saraburi Sandbox” เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย ที่บูรณาการความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชน 
โดยใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนทั้ง 5 ด้านของแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของไทย ได้แก่ 
1) เร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน 
โดยผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด พัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ รวมถึงเปิดโอกาสให้บุคคลที่สามใช้ระบบสายส่งไฟฟ้า (Third Party Access) ยกระดับเสถียรภาพการใช้พลังงานสะอาด ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานสะอาด ลดต้นทุน และลดก๊าซเรือนกระจก
2) สร้างคุณค่าให้วัสดุเหลือทิ้ง
เช่น “ตาลเดี่ยวโมเดล” โครงการบริหารจัดการขยะในพื้นที่สระบุรี ที่เน้นรีไซเคิลขยะชุมชนให้กลับมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าได้ ด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น
การผลิตเชื้อเพลิงขยะคุณภาพสูงจากพลาสติกและของเหลือทิ้งภาคเกษตร การบำบัดน้ำชะขยะด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพ การคัดแยกขยะระบบกึ่งอัตโนมัติพร้อมระบบดับกลิ่นขยะด้วยโอโซนและสารดูดซับ การคัดแยกชนิดและสีพลาสติกด้วยระบบ NIR และ Vision ตลอดจนการผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และสารปรับปรุงดิน
3) ส่งเสริมอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์สีเขียว 
โดยหาการสนับสนุนด้านนวัตกรรมกรีนต่าง ๆ จากนานาชาติ 
เช่น เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน การใช้ประโยชน์จากคาร์บอน รวมถึงการผลิตสินค้าคาร์บอนต่ำ
4) ส่งเสริมเกษตรคาร์บอนต่ำ 
เช่น การปลูกข้าวที่ลดก๊าซเรือนกระจกด้วยกระบวนการนาเปียกสลับแห้ง และการปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทน
5) เพิ่มพื้นที่สีเขียว 
เพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บคาร์บอน และสร้างประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=ec_Ei4Vb4FE 
นอกจากนี้ ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น “Nets Up” 
โมเดลการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อทะเลยั่งยืน เปลี่ยนอวนประมงที่ไม่ใช้แล้ว 
สู่ Marine Materials วัสดุทางเลือกใหม่จากนวัตกรรมรีไซเคิล 
เพื่อนำไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง 
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/NetsUp.MarineMaterials 
ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าการใช้และพัฒนา “นวัตกรรมกรีน” ไม่เพียงแต่จะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง 
แต่ยังทำให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างคู่ค้า คู่ธุรกิจ ผู้คนในสังคม และสิ่งแวดล้อม เติบโตแบบยั่งยืนไปด้วยกัน
อย่างไรก็ดี “สังคมคาร์บอนต่ำ” ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากคนใดคนหนึ่ง 
แต่ทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถมีส่วนร่วมปล่อยพลังสร้างสรรค์ พัฒนาและใช้นวัตกรรมกรีนเหล่านี้ให้มากขึ้น 
เช่นเดียวกับที่ SCG พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมาร่วมกัน
วิกฤติโลกเดือดจึงจะถูกแก้ไข ด้วยการสร้าง “สังคมคาร์บอนต่ำ” ให้ “เป็นไปได้ไปด้วยกัน” 
หากสนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scg.com/innovation/the-possibilities 
Tag: SCG
© 2024 MONEY LAB. All rights reserved. Privacy Policy.