สัมภาษณ์พิเศษ คุณธนากร เล็กวิจิตรธาดา นักลงทุนผู้สร้างผลตอบแทน ได้หลายร้อยเท่า
4 เม.ย. 2024
สัมภาษณ์พิเศษ คุณธนากร เล็กวิจิตรธาดา นักลงทุนผู้สร้างผลตอบแทน ได้หลายร้อยเท่า | MONEY LAB
วิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เกิดขึ้นในปี 2540 สร้างผลกระทบร้ายแรง ต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศไทย
แต่ในขณะเดียวกัน ช่วงเวลานั้นเอง แนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่าในประเทศไทย ก็ได้เริ่มถือกำเนิดขึ้น
นักลงทุนที่ใช้หลักการลงทุนนี้ หลายท่านในปัจจุบัน ได้พบกับชีวิตที่มีอิสรภาพทางการเงิน..
มีนักลงทุนอยู่ท่านหนึ่ง ที่ลงทุนมาเป็นเวลา 21 ปี
ทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้หลายร้อยเท่า
จนวันนี้ประสบความสำเร็จ มีอิสรภาพทางการเงิน
ทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้หลายร้อยเท่า
จนวันนี้ประสบความสำเร็จ มีอิสรภาพทางการเงิน
เรากำลังพูดถึง คุณธนากร เล็กวิจิตรธาดา หรือ “พี่เซน”
โดยพี่เซนเริ่มต้นเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นตั้งแต่ปี 2546
โดยมีจุดเริ่มต้นจากการได้อ่านหนังสือ “เงินสี่ด้าน” ของคุณ Robert T. Kiyosaki
โดยมีจุดเริ่มต้นจากการได้อ่านหนังสือ “เงินสี่ด้าน” ของคุณ Robert T. Kiyosaki
ทำให้มีความฝันที่อยากจะมีอิสรภาพทางการเงิน
MONEY LAB ได้มีโอกาสสัมภาษณ์กับพี่เซน
ที่จะมาพูดถึงปรัชญาการลงทุนต่าง ๆ ที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้
ที่จะมาพูดถึงปรัชญาการลงทุนต่าง ๆ ที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้
โดยสามารถสรุปออกมาเป็นประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้
เลือกอาจารย์ด้านการลงทุนให้ถูกคน
เราควรเลือกอาจารย์ที่พิสูจน์ตัวเองมาแล้วว่า มีความรู้ มีประสบการณ์ และประสบความสำเร็จจากการลงทุนมาแล้ว สามารถเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องให้กับเราได้
โดยอาจารย์ 5 ท่าน ที่พี่เซนเลือกเป็นแบบอย่าง ประกอบด้วย
คุณคเชนทร์ เบญจกุล เจ้าของฉายา Invisible Handคุณฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เจ้าของฉายา นักถอดรหัสงบการเงินคุณมนตรี นิพิฐวิทยาคุณวัฒนา หุ่นทรงธรรมดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร บิดาการลงทุนแบบเน้นคุณค่าของประเทศไทย
หาความรู้ ฝึกตั้งคำถามไปเรื่อย ๆ และรู้จักกรองข้อมูล
กว่าที่พี่เซนจะประสบความสำเร็จในการลงทุนได้แบบทุกวันนี้ ที่ผ่านมาก็ใช้เวลาในการหาความรู้ให้เพิ่มพูนมาโดยตลอด
กระบวนการในการหาความรู้ที่พี่เซนแนะนำ ประกอบด้วย
อ่าน, ฟัง และดู สิ่งที่เป็นประโยชน์เยอะ ๆ
สำหรับอะไรที่เรายังไม่รู้ เราก็ควรใช้เวลาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น ด้วยความอดทน จนเริ่มเข้าใจดีขึ้น
อย่างพี่เซนเอง เมื่อก่อนความรู้ด้านการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องบัญชี การอ่านงบการเงิน การวิเคราะห์ธุรกิจ ก็ยังไม่ได้เชี่ยวชาญมากเท่าปัจจุบัน
แต่เมื่อฝึกฝนไปเรื่อย ๆ ความรู้ความเชี่ยวชาญก็เพิ่มพูนขึ้น วิเคราะห์บริษัทที่จะลงทุนได้ดีขึ้น
พี่เซนแนะนำว่า การจะลงทุนในหุ้นให้ประสบความสำเร็จ เราควรเริ่มจาก ลงทุนในตัวเองก่อนเป็นอย่างแรก
โดยตัวอย่างจากพี่เซนเอง คือในช่วงแรกก็เริ่มจากการอ่านหนังสือการลงทุน, ลงคอร์สเรียนด้านการลงทุนจากหลักสูตร Thai VI, อ่านรายงานประจำปีจากหลากหลายบริษัท เพื่อให้เข้าใจธุรกิจดีขึ้น
ฝึกตั้งคำถามในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ
โลกรอบตัว หากเราสังเกตดูดี ๆ จะพบว่ามีสิ่งต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพราะระบบเศรษฐกิจของเรา คือทุนนิยม
เช่น เวลาเราอยากเข้าร้านสะดวกซื้อ ที่แรกที่เรามักนึกถึง ก็คงจะเป็นร้าน 7-Eleven ซึ่งก็มีสินค้าขายดีมากมาย ที่มาจากหลากหลายบริษัทด้วย
หรือบางครั้งเราอาจจะได้อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่จะผลักดันเรื่องบางเรื่อง ซึ่งก็จะต้องมีบางบริษัทที่จะได้รับผลประโยชน์จากนโยบายเหล่านั้น
ทั้งหมดนี้ หากเรารู้จักสังเกตและฝึกคิดต่อยอด เพื่อตั้งคำถามถึงสิ่งเหล่านี้บ่อย ๆ เราก็จะพบกับธุรกิจที่น่าสนใจมากมาย
ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้เราได้เจอกับบริษัทที่น่าสนใจลงทุนอย่างมาก
ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้เราได้เจอกับบริษัทที่น่าสนใจลงทุนอย่างมาก
รู้จักการกลั่นกรองข้อมูล
ปัจจุบันมีข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามามากมาย จนบางครั้งเราก็อาจจะรู้สึกว่าข้อมูลท่วมท้นเกินไป
ดังนั้น เราจึงควรเลือกรับข้อมูลเฉพาะประเด็นที่เราสนใจจริง ๆ และต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้
ประเภทหุ้นที่ชอบ
หุ้นที่พี่เซนชอบจะต้องมีธุรกิจที่สามารถทำความเข้าใจได้ และสามารถคาดการณ์ รายได้-กำไร ในอนาคตได้
สมัยก่อนช่วงที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุน พี่เซนจะชอบบริษัทที่สามารถเติบโตได้แบบก้าวกระโดด แต่เมื่อพอร์ตการลงทุนเติบโตขึ้นมามากถึงระดับหนึ่ง ก็เริ่มชอบธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ
โดยบริษัทที่มีการเติบโตที่มีคุณภาพ มักจะมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้
มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องมี Capital Intensive สูง คือไม่ต้องใช้เงินลงทุนเยอะเวลาจะขยายกิจการมี Operating Leverage ที่ดี คือกำไรสามารถเติบโตได้สูงกว่ารายได้ เช่น รายได้เติบโต 15% แต่กำไรสามารถเติบโตได้ถึง 20%มี Return on Invested Capital หรือ ROIC ที่สูง ซึ่งบ่งชี้ว่า เมื่อบริษัทนำเงินไปลงทุนขยายธุรกิจแล้ว สามารถทำผลตอบแทนกลับมาสู่ผู้ถือหุ้นได้สูงนั่นเอง
โดยพี่เซนบอกว่า ชอบหุ้นที่เป็นประเภท Growth Stock หรือหุ้นเติบโต ที่มีศักยภาพที่จะกลายเป็น Super Stock ได้ในอนาคต
การจัดพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยง
การจัดพอร์ตการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาไม่เหมือนกัน เมื่อพอร์ตการลงทุนยังเล็ก เงินยังไม่มาก แต่อยากให้พอร์ตโตเร็ว พี่เซนก็เคยลงทุนแบบกระจุกตัว โดยเคยถือหุ้นบางตัว 70-80% ของพอร์ต
แต่เมื่อพอร์ตการลงทุนใหญ่มากขึ้น ก็มีการกระจายความเสี่ยงด้วยการถือหุ้นหลายตัว
ปัจจุบัน พี่เซนถือหุ้นอยู่ประมาณ 8 บริษัท และพยายามจำกัดสัดส่วนให้ถือหุ้นแต่ละตัวไม่เกิน 30% ของพอร์ต
โดยหุ้นที่ถือแต่ละตัวนั้น ก็มีเกณฑ์ในการเลือกคือ มีธุรกิจที่สามารถเข้าใจ และคาดการณ์ได้ ตามหลักการที่กล่าวไปข้างต้น
โดยพี่เซนมองว่า ความเสี่ยงในการลงทุน จริง ๆ แล้ว อาจเป็นการที่เราไม่เข้าใจธุรกิจที่เราลงทุน มากกว่าการถือหุ้นน้อยตัวเกินไปเสียอีก
ถ้าเราเข้าใจธุรกิจดีจริง ๆ เราก็จะสามารถประเมินความเสี่ยง และโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงนั้น ออกมาได้
วิธีในการหาหุ้น การประเมินมูลค่า และเวลาในการขายหุ้น
วิธีการหาหุ้น
พี่เซนเชื่อว่า เราควรซื้อหุ้นเหมือนซื้อธุรกิจ ดังนั้นวิธีในการหาหุ้นของพี่เซน จึงเริ่มจากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
เช่น สังเกตว่าสินค้าอะไรขายดี, คนส่วนใหญ่ชอบใช้สินค้าอะไร และธุรกิจไหนที่ดูมีอนาคตในการเติบโตดี
โดยบริษัทที่พี่เซนชอบลงทุน มักจะเป็นบริษัทที่ขนาดยังเล็ก แต่มีโอกาสในการเติบโตสูง
หากเราลงทุนในบริษัทดังกล่าว ถ้ากิจการของบริษัทเป็นไปได้ด้วยดี เราก็จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูง
การประเมินมูลค่าหุ้น
พี่เซนใช้ P/E Ratio ในการประเมินมูลค่าหุ้น โดยจะคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคตของบริษัทประมาณ 3 ปีข้างหน้า เพื่อหาว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น ควรจะเป็นเท่าไร
ช่วงเวลาที่ขายหุ้น
พี่เซนบอกว่า ระยะเวลาในการถือหุ้นแต่ละตัวนั้น ไม่แน่นอน บางตัวก็อาจจะถือแค่ 1-2 ปี แต่บางตัวอาจจะถือถึง 4 ปี
สำหรับการขายหุ้นนั้น พี่เซนจะขายก็ต่อเมื่อ ราคาได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงไปมากแล้ว, เจอหุ้นใหม่ที่ดีกว่า หรือมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ และวิธีรับมือกับช่วงเวลาวิกฤติ
ในช่วงเวลา 21 ปีตั้งแต่เริ่มต้นลงทุน พี่เซนก็ผ่านเหตุการณ์ที่พอร์ตการลงทุนติดลบมาหลายครั้ง จนค้นพบวิธีรับมือกับวิกฤติ ได้แก่
เมื่อเจอกับวิกฤติ ให้รักษากำลังใจไว้ ยึดมั่นในหลักการ และอย่ายอมแพ้
ในช่วงที่พอร์ตการลงทุนติดลบ หลายคนก็น่าจะสูญเสียกำลังใจไม่น้อย
และบางคนก็อาจจะรับความกดดันไม่ได้ ทำให้เลือกขายหุ้นและออกจากตลาดไป สุดท้ายจึงเกิดเป็นการขาดทุนถาวร
พี่เซนแนะนำว่า เราควรรักษากำลังใจเอาไว้ อย่าปล่อยอารมณ์ให้ผันผวนไปตามภาวะตลาด และในขณะเดียวกัน ก็ยึดมั่นหลักการลงทุนที่เราใช้เอาไว้
ทบทวนบริษัทที่เราลงทุนอยู่บ่อย ๆ
เราควรตรวจสอบบริษัทที่เราลงทุนอยู่อย่างสม่ำเสมอ ดูว่าภาพธุรกิจของบริษัทในระยะยาว ยังคงดีอยู่หรือไม่
ถ้าพบว่ายังคงดีอยู่ ก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องขายหุ้น และถ้าราคาหุ้นถูก เราควรซื้อเพิ่มด้วย
หากเราอดทนทำตามหลักการข้างต้นนี้ได้ โดยการถือหุ้นของบริษัทที่ดีที่เราเข้าใจ ไม่ยอมแพ้และออกจากตลาดไปเสียก่อน
เมื่อวันที่เหตุการณ์ร้าย ๆ ผ่านพ้นไป เดี๋ยวราคาหุ้นก็จะฟื้นตัวกลับมา และพอร์ตการลงทุนของเรา ก็จะกลับมาทำกำไรได้
ทั้ง 6 ข้อที่เขียนมานี้ ก็คือปรัชญาการลงทุนของพี่เซน
แต่ความจริงแล้ว MONEY LAB ก็ยังมีคำถามทิ้งท้าย
ที่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่นักลงทุนมือใหม่ทุกคน คือ
แต่ความจริงแล้ว MONEY LAB ก็ยังมีคำถามทิ้งท้าย
ที่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่นักลงทุนมือใหม่ทุกคน คือ
“ถ้าวันหนึ่งในอนาคต พี่เซนไม่ได้ส่งต่อความมั่งคั่งให้กับทายาท แต่ส่งต่อเป็นหลักการในการจัดการด้านการเงินและการลงทุนแทน พี่เซนจะมีคำแนะนำอย่างไร ?”
พี่เซนตอบคำถามนี้ว่า เริ่มแรกเราควรมีเงินเก็บเงินออมก่อน ให้เยอะที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
จากนั้นก็นำเงินที่เก็บออมไว้ ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัท ที่มีธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ ในระยะยาว
และในขณะเดียวกัน ก็พยายามหาความรู้ด้านการลงทุนให้มากที่สุด เพราะยิ่งเรามีความรู้มากขึ้น เราก็จะลงทุนได้เก่งขึ้น
ทั้งหมดนี้ คือประเด็นสำคัญที่ทาง MONEY LAB ได้สรุปมาให้ จากการสัมภาษณ์กับคุณธนากร เล็กวิจิตรธาดา
โดยทางเพจหวังว่า เนื้อหาของบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่าน ที่มีความฝันอยากจะประสบความสำเร็จในการลงทุน และมีอิสรภาพทางการเงิน ไม่มากก็น้อย..
สุดท้ายนี้ ทาง MONEY LAB ก็อยากขอขอบคุณพี่เซน หรือคุณธนากร เล็กวิจิตรธาดา ในการให้โอกาสสัมภาษณ์ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
Reference
สัมภาษณ์คุณธนากร เล็กวิจิตรธาดา เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2567