ถอดความสำเร็จ โครงการ New S Curve to Capital Market 2024 ที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจ New Economy ไทยให้ถึงฝั่งฝัน
30 ต.ค. 2024
LiVE Platform x MONEY LAB
สิ่งที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตต่อไปได้ คือการสนับสนุนเหล่าธุรกิจในกลุ่ม New Economy ผ่านการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจ การพัฒนาระบบงานที่สำคัญ รวมถึงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
แต่เมื่อเหลียวมองตลาดหุ้นของเราในวันนี้ บริษัทที่เป็น New Economy ในแหล่งระดมทุนหลักของประเทศ อย่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลับมีจำนวนเพียงแค่ 1 ใน 10 เท่านั้น
เพราะฉะนั้น ทาง LiVE Platform โดยบริษัท ไลฟ์ฟินคอร์ป จำกัด ภายใต้กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชน
ได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย
เพื่อสนับสนุนเหล่าผู้ประกอบการใน 3 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ Life Science, High Technology และ High Growth ผ่านการจัดตั้งโครงการ New S Curve to Capital Market 2024
โดยโครงการฯ จะช่วยให้ผู้ประกอบการที่เข้าอบรมได้นำความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ และการระดมทุน ไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตเป็นธุรกิจที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในระบบงานที่สำคัญ
เช่น ระบบบัญชีการเงิน ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายใน กฎหมายและภาษี เป็นต้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partners), การร่วมลงทุนโดย VC, CVC และตลาดหลักทรัพย์ (SET-mai-LiVEx)
นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีโอกาสต่อยอดธุรกิจร่วมกัน และได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อเตรียมความพร้อม จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) จำนวน 1 ล้านบาทต่อบริษัท รวมถึงทุนสนับสนุนอื่น ๆ จากหน่วยงานภาครัฐ เช่น TCELS และ NIA
และตลอด 4 เดือนที่ผ่านมานี้ โครงการ New S Curve to Capital Market 2024 ได้ช่วยผู้ประกอบการสตาร์ตอัปของไทยในโครงการอย่างไรบ้าง ?
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า โครงการ New S Curve to Capital Market 2024 เป็นการร่วมมือกันของหลากหลายหน่วยงาน
ทำให้ตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการกว่า 60 บริษัท จะได้รับความรู้อย่างเข้มข้นจากการอบรมมากถึง 4 หลักสูตร ซึ่งแต่ละหลักสูตรก็จะมาจากความถนัดของแต่ละหน่วยงาน ได้แก่
1. หลักสูตร Technical Skills for Life Science โดย TCELS มีเป้าหมายในการเสริมองค์ความรู้ผู้ประกอบการให้เข้าใจกระบวนการผลิตและพัฒนาสินค้า มาตรฐานสินค้า และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งภายในประเทศ และระดับภูมิภาค
2. หลักสูตร Business Innovation & Growth โดย NIA มีเป้าหมายเพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการด้านนวัตกรรม สามารถพัฒนาโมเดลธุรกิจให้แข็งแกร่ง มีความสร้างสรรค์ทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น
3. หลักสูตร Accelerating New S Curve Business Success with the Right Roadmap โดย KPMG มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการด้านการวางกลยุทธ์องค์กร การขยายธุรกิจ การบริหารองค์กรและทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ
4. หลักสูตร Unlock Your Business to Capital Market โดย SET มีเป้าหมายในการเสริมองค์ความรู้ผู้ประกอบการในการเลือกแหล่งระดมทุนที่เหมาะสมกับธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาระบบงานต่าง ๆ ที่สำคัญ เพื่อเตรียมพร้อมสู่เส้นทางการระดมทุน
พร้อมทั้งมีการ 1-on-1 Coaching ผ่านทางออนไลน์ ให้กับแต่ละบริษัทอีกด้วย
ซึ่งหลังจากที่เวลาได้ล่วงเลยมาถึงวันสุดท้ายของโครงการ ข้อมูลจากผลสำรวจ ระหว่างกิจกรรม 1-on-1 Coaching โดย KPMG และ SET ก็แสดงให้เห็นว่า
มีผู้เข้าร่วมกว่า 46% ที่ต้องการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือว่า IPO โดยแบ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ mai 27% และ LiVEx 19%
แต่นอกจากการเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว ก็ยังมีผู้เข้าร่วมอีกหลายบริษัท ที่มีเป้าหมายในการระดมทุนอื่น ๆ เช่น Strategic Partner หรือ Venture Capital
ส่วนในด้านของความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกเป้าหมายหลักของโครงการ New S Curve to Capital Market 2024 ก็ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
เพราะก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการนั้น ผู้เข้าร่วมที่มีความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมธุรกิจ ในระดับมากนั้น มีแค่เพียง 8% เท่านั้น
แต่ในวันสุดท้ายของโครงการ ผู้เข้าร่วมที่มีความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมธุรกิจ ในระดับมาก กลับเพิ่มขึ้นเป็น 77%
ถ้าพูดเพียงแค่ตัวเลขเพียงอย่างเดียว ก็อาจจะไม่เห็นภาพ ว่าโครงการ New S Curve to Capital Market 2024 นั้น ช่วยเหลือผู้ประกอบการสตาร์ตอัปไทยได้มากขนาดไหน
ทาง MONEY LAB จึงได้สัมภาษณ์ 2 ผู้เข้าร่วมโครงการอย่าง คุณกั๊ก-สุพิชญา สูรพันธุ์ และคุณโจ-รศ. ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ เพิ่มเติมอีกด้วย
โดยทางคุณกั๊ก ซึ่งเป็น CEO และผู้ก่อตั้ง บริษัท เนเวอร์ซิทอัพ จำกัด ที่เริ่มต้นจากการทำ Fintech ด้วยแอปจัดการบัตรเครดิตเจ้าแรกของไทยอย่าง Piggipo
วันนี้ได้ต่อยอดธุรกิจตัวเอง กลายเป็นบริษัทรับออกแบบและผลิตซอฟต์แวร์แบบครบวงจร ให้กับหลายบริษัทชั้นนำในไทย พร้อมมีแผนจะหา Strategic Partner ในปี 2024 ถึง 2025 นี้ และเข้าตลาดหลักทรัพย์ mai ในปี 2027
นั่นจึงทำให้คุณกั๊กตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ New S Curve to Capital Market 2024 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับทำตามเป้าหมายในอีก 3 ปีข้างหน้า พร้อมทั้งโอกาสในการคว้าเงินทุนสนับสนุนอีกด้วย
ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ ได้ให้ความรู้เชิงลึกและทักษะใหม่ ๆ ที่สำคัญให้กับคุณกั๊ก ในการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์
ไม่ว่าจะเป็น การวางแผน Roadmap สำหรับเข้าตลาดหลักทรัพย์, การปรับปรุงระบบควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับแนวโน้มใหม่ ๆ อย่าง ESG อีกด้วย
คุณกั๊กยังได้เสริมอีกด้วยว่า สิ่งที่ประทับใจจากโครงการครั้งนี้ ก็คือการได้รับความรู้จากประสบการณ์ตรงของผู้ที่ผ่านการเข้าตลาดหลักทรัพย์มาแล้ว
รวมไปถึงการได้สร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการจากหลากหลายอุตสาหกรรม และโอกาสในการรับเงินทุนสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์อีกด้วย
โดยความรู้เหล่านี้ ช่วยให้คุณกั๊ก รู้สึกพร้อมเกิน 100% สำหรับแผนการหา Strategic Investor และการเข้าตลาด mai ในอนาคตต่อไป
แม้อาจจะมีความท้าทายอยู่บ้าง ในเรื่องของการสื่อสารให้คนในองค์กรเข้าใจ เพื่อปรับตัวเตรียมพร้อมกับการเป็นบริษัทในตลาดหุ้น
ส่วนคุณโจ CTO และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ออสซีโอแล็บส์ จำกัด ซึ่งเชี่ยวชาญในการผลิตอุปกรณ์การแพทย์เฉพาะบุคคลด้วยเทคโนโลยี 3D Print, AI และการออกแบบเชิงชีวกลศาสตร์ ที่ช่วยให้การผ่าตัดรวดเร็วยิ่งขึ้น
ได้เข้าร่วมโครงการ New S Curve to Capital Market 2024 เพื่อหาแนวทางในการขยายธุรกิจให้เติบโตเร็วขึ้น โดยมุ่งเน้นการสร้างฐานที่แข็งแกร่งในประเทศไทย ก่อนจะก้าวออกไปสู่ตลาดโลก
โดยการอบรมครั้งนี้ นอกจากจะช่วยให้คุณโจ ได้เรียนรู้เรื่องของธุรกิจ และการเงิน ซึ่งอยู่นอกเหนือจากความเชี่ยวชาญในสายงานวิศวกรรมของคุณโจแล้ว
ยังทำให้คุณโจได้รู้จักกลไกสนับสนุนของรัฐต่าง ๆ ที่จะช่วยให้สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตได้เร็วขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น นโยบาย Made in Thailand, สิทธิบัตร และบัญชีนวัตกรรม
คุณโจรู้สึกประทับใจในด้านความครบถ้วนของเนื้อหา, การได้พบปะกับผู้ประกอบการที่มีเป้าหมายคล้ายกัน และคุณภาพของวิทยากรที่พร้อมแบ่งปันความรู้ด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเข้าตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย ยังไม่ใช่เป้าหมายหลักของบริษัทและคุณโจในตอนนี้ เพราะมองเห็นถึงศักยภาพของตลาด Health Technology ในต่างประเทศที่มีมากกว่า
แต่ความรู้ทางด้านธุรกิจ และการเงินที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้ ก็น่าจะช่วยให้ทางบริษัทสามารถสร้างความเข้าใจ และความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนไทย ในตัวธุรกิจ Health Technology ซึ่งยังเป็นสิ่งที่น้อยคนจะคุ้นเคย
จากทั้งหมดนี้เองก็สามารถสรุปได้ว่า โครงการ New S Curve to Capital Market 2024 นั้น นอกจากจะช่วยเสริมองค์ความรู้ในการทำธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ พร้อมทั้งได้รับเงินทุนเพื่อไปพัฒนาระบบงานที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางการระดมทุนแล้ว
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่บริษัทยังได้รับจากโครงการอบรมในครั้งนี้ ก็คือการได้สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ ที่จะช่วยเกื้อหนุน ในการต่อยอดให้ธุรกิจก้าวสู่ความสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกด้วย
ซึ่งก็เป็นที่น่าติดตามกันต่อไปว่า หลังจากจบโครงการนี้แล้ว จะมีบริษัทไหนบ้างจากโครงการนี้ ที่จะสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
และยกระดับทั้งเศรษฐกิจ และตลาดทุนของไทย ให้เข้าสู่ยุคของ New Economy อย่างแท้จริง..
References
- พิธีปิดโครงการ New S Curve to Capital Market 2024
- สัมภาษณ์ คุณสุพิชญา สูรพันธุ์ CEO และผู้ก่อตั้ง บริษัท เนเวอร์ซิทอัพ จำกัด โดย MONEY LAB
- สัมภาษณ์ รศ. ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ CTO และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ออสซีโอแล็บส์ จำกัด โดย MONEY LAB
- https://www.live-platforms.com/th/newscurve2024/
- พิธีปิดโครงการ New S Curve to Capital Market 2024
- สัมภาษณ์ คุณสุพิชญา สูรพันธุ์ CEO และผู้ก่อตั้ง บริษัท เนเวอร์ซิทอัพ จำกัด โดย MONEY LAB
- สัมภาษณ์ รศ. ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ CTO และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ออสซีโอแล็บส์ จำกัด โดย MONEY LAB
- https://www.live-platforms.com/th/newscurve2024/