“Silver Economy” เศรษฐกิจสูงวัย ที่มีทั้งโอกาส และความท้าทาย

“Silver Economy” เศรษฐกิจสูงวัย ที่มีทั้งโอกาส และความท้าทาย

18 ธ.ค. 2023
“Silver Economy” เศรษฐกิจสูงวัย ที่มีทั้งโอกาส และความท้าทาย | MONEY LAB
“สังคมสูงวัย” ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ เรียกว่า “เศรษฐกิจสูงวัย” หรือ “Silver Economy”
ซึ่งประเทศไทย ก็กำลังเผชิญกับปรากฏการณ์นี้อยู่เช่นกัน
คำถามที่น่าสนใจคือ แล้ว Silver Economy มาพร้อมกับโอกาสและความท้าทาย อย่างไรบ้าง ?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
รู้ไหมว่า ปัจจุบัน Silver Economy มีมูลค่าเศรษฐกิจสูงถึง 26.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 900 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 25% ของมูลค่าเศรษฐกิจโลก
ขณะที่ประเทศไทยมีประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12.7 ล้านคน หรือ 19% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
และมีการประเมินว่า Silver Economy ในประเทศไทย จะมีมูลค่าสูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 12% ของมูลค่าเศรษฐกิจ ในปี 2573
ต้องบอกว่า ผู้สูงวัยจำนวนไม่น้อย แม้จะเกษียณจากการทำงานไปแล้ว แต่ก็ยังเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ มีศักยภาพด้านการเงิน พร้อมจับจ่ายใช้สอย ทำให้สร้างโอกาสให้แก่หลายธุรกิจ เช่น
ธุรกิจอาหาร และอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุธุรกิจท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุธุรกิจดูแลสุขภาพธุรกิจที่อยู่อาศัยธุรกิจบริการทางการเงิน
รวมถึงอีกหลายสินค้าและบริการ ที่จะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าสูงอายุ ที่จะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
ซึ่งธุรกิจที่สามารถปรับเปลี่ยน หรือเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้ก่อน ก็จะคว้าโอกาสตรงนี้ไปได้เช่นกัน
แต่อีกมุมหนึ่ง การเติบโตของ Silver Economy ก็มีเรื่องที่ท้าทายต่อประเทศไทยเช่นกัน เริ่มตั้งแต่
ภาระทางการคลังของประเทศไทยในอนาคต
ในทางตรงกันข้ามกับผู้สูงอายุที่มีศักยภาพด้านการเงิน ก็ยังมีผู้สูงอายุในไทยจำนวนมาก ที่ยังต้องพึ่งพาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอยู่
โดยประเทศไทยเริ่มจ่ายเบี้ยดังกล่าว มาตั้งแต่ปี 2552
รู้ไหมว่า ปี 2557 ประเทศไทยมีการใช้งบประมาณสำหรับค่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สูงถึง 60,000 ล้านบาท
แต่ในปีงบประมาณ 2567 ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มสูงถึง 90,000 ล้านบาท
และมีการคาดการณ์กันว่า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นไปถึง 130,000 ล้านบาท ในปี 2572 ตามจำนวนผู้สูงอายุในประเทศที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งนี่ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศไทย ในการจัดการภาระทางการคลังในอนาคต
ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จะรุนแรงขึ้นในอนาคต
รู้ไหมว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่เพียง 502,107 คน นับเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในรอบ 70 ปี
ซึ่งในระยะยาวแล้ว จะทำให้มีจำนวนผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานลดลงเรื่อย ๆ
ประเด็นนี้ถือเป็นความท้าทายของเศรษฐกิจประเทศไทย ที่หลายอุตสาหกรรมนั้น ยังเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานจำนวนมาก ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการหนึ่ง ๆ หรือ Labour-intensive โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการ ซึ่งยังมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานนั่นเอง
ซึ่งการเพิ่มผลิตภาพต่อแรงงาน รวมถึงการนำเครื่องจักร หุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ ก็จะเป็นหนึ่งในแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
อ่านมาถึงตรงนี้ต้องบอกว่า จากการมาถึงของ Silver Economy นั้น มีทั้งโอกาสและความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเจอ
ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ภาครัฐบาล ต้องดำเนินนโยบายที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการดูแลภาระทางการคลัง การเตรียมความพร้อมในการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งสนับสนุนภาคธุรกิจที่มีศักยภาพ ให้สามารถคว้าโอกาสจาก Silver Economy นี้ได้..
-------------------------------------------------
Sponsored by JCB
สัมผัสประสบการณ์ที่มากกว่ากับ บัตรเครดิต JCB
ที่มาพร้อมสิทธิพิเศษดี ๆ เพลิดเพลินทั้ง กิน เที่ยว ช้อป ในไทยและต่างประเทศ
พร้อมกับการให้บริการสุดพิถีพิถันทุกรูปแบบ
Facebook : JCB Thailand
LINE : @JCBThailand (https://bit.ly/JCBTHLine)JCBThailand #JCBCardJCBOwnHappinessOwnStory #อีกขั้นของความสุขในรูปแบบที่เป็นตัวคุณ
-------------------------------------------------
© 2024 MONEY LAB. All rights reserved. Privacy Policy.