กวี ชูกิจเกษม นักสร้างอิสรภาพทางการเงิน ประเมินมูลค่าหุ้นอย่างไร | MONEY LAB
คุณกวี ชูกิจเกษม หรือ “นักสร้างอิสรภาพทางการเงิน” ผู้อยากเห็นคนไทยทุกคน มีอิสรภาพทางการเงิน
กวี ชูกิจเกษม นักสร้างอิสรภาพทางการเงิน ประเมินมูลค่าหุ้นอย่างไร
6 ธ.ค. 2023
นอกจากจะเป็นนักวิเคราะห์หุ้นที่ประสบความสำเร็จ อยู่ในวงการตลาดหุ้นไทย มานานกว่า 30 ปีแล้ว
คุณกวียังเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ที่ประสบความสำเร็จ สามารถมีอิสรภาพทางการเงินได้ ผ่านการลงทุนในตลาดหุ้น อีกด้วย
แล้วคุณกวีมีหลักการ ในการประเมินหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น ที่จะลงทุนอย่างไร ?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
วิธีที่คุณกวีใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้น ดัดแปลงมาจาก
“การประเมินมูลค่าด้วยเงินปันผล” หรือ Dividend Discount Model
“การประเมินมูลค่าด้วยเงินปันผล” หรือ Dividend Discount Model
ซึ่งสามารถคำนวณได้จาก
เงินปันผลปีล่าสุด x (1 + อัตราการเติบโตในระยะยาวของบริษัท)
แล้วนำมาหารด้วย
(ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน - อัตราการเติบโตในระยะยาวของบริษัท)
(ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน - อัตราการเติบโตในระยะยาวของบริษัท)
ข้อมูลที่นำมาคำนวณอย่างเงินปันผลนั้น เราก็สามารถหาได้ด้วยการเปิดดูในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ได้ทำการรวบรวมข้อมูลไว้
แต่ข้อมูลอื่น ๆ อย่างเช่น อัตราการเติบโตของเงินปันผลเฉลี่ย หรือผลตอบแทนที่คาดหวังนั้น เราจะสามารถหาได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้
คำนวณหาผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน หรือ ค่า K
ค่า K สามารถคำนวณหาได้จาก
Risk Free Rate + [(Rm - Risk Free Rate) x Beta]
Risk Free Rate + [(Rm - Risk Free Rate) x Beta]
โดยที่
Risk Free Rate คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนสินทรัพย์ ที่ปราศจากความเสี่ยง
โดยเราจะใช้ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทย 10 ปี ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 3% ต่อปี
Rm คือ ผลตอบแทนเฉลี่ยของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ในระยะยาว โดย Rm ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เรากำหนดให้ อยู่ที่ประมาณเฉลี่ย 10% ต่อปี
เรากำหนดให้ อยู่ที่ประมาณเฉลี่ย 10% ต่อปี
ค่า Beta คือ ค่าที่ใช้วัดผลตอบแทนของหุ้นแต่ละตัว
เมื่อเทียบกับ ผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์
เมื่อเทียบกับ ผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์
โดย Beta ยังสามารถใช้วัดความเสี่ยงของหุ้นตัวนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้อีกด้วย
ถ้า Beta มากกว่า 1 หมายความว่า หุ้นตัวนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าดัชนีถ้า Beta น้อยกว่า 1 หมายความว่า หุ้นตัวนั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าดัชนีถ้า Beta เท่ากับ 1 หมายความว่า หุ้นตัวนั้นมีความเสี่ยงเท่ากับดัชนี
และเราสามารถหาค่า Beta ตรงนี้ ได้จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำนวณหาอัตราการเติบโตในระยะยาวของบริษัท หรือ ค่า g
โดยสามารถคำนวณหาได้จาก
ROE x (1 - Payout Ratio)
ROE x (1 - Payout Ratio)
สำหรับ ROE คือ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
และ Payout Ratio คือ อัตราการจ่ายเงินปันผลต่อกำไรสุทธิ
และ Payout Ratio คือ อัตราการจ่ายเงินปันผลต่อกำไรสุทธิ
เมื่อได้ทั้ง 2 สิ่งนี้แล้ว เราก็จะสามารถนำไปประเมินมูลค่าหุ้นที่แท้จริงได้ โดยจะขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจ แบบง่าย ๆ ดังนี้
จากข้อมูลของบริษัท A
จ่ายเงินปันผลปีล่าสุด 0.75 บาทต่อหุ้นค่า Beta เท่ากับ 1ROE 16%อัตราการจ่ายเงินปันผลต่อกำไรสุทธิ
50%
50%
จากข้อมูลทั้งหมดนี้ จะทำให้เราได้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในบริษัท A หรือค่า K เท่ากับ 10% ต่อปี และมีอัตราการเติบโตในระยะยาวของบริษัทเฉลี่ย หรือค่า g เฉลี่ย เท่ากับ 8% ต่อปี
เราจะสามารถนำข้อมูลข้างต้นนี้ มาประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น A ได้
(0.75 บาทต่อหุ้น x (1 + 8%)) / (8% - 2%)
(0.75 บาทต่อหุ้น x (1 + 8%)) / (8% - 2%)
ทำให้หุ้นของบริษัท A จะมีมูลค่าที่แท้จริงเท่ากับ
40.5 บาทต่อหุ้น
40.5 บาทต่อหุ้น
อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีนี้ ก็ยังมีหลายสิ่งที่ควรพิจารณาอยู่ด้วย
ควรมี Margin of Safety
ถึงอย่างนั้น ราคาหุ้นที่เราคำนวณได้ ก็ใช่ว่าจะถูกต้องเสียทีเดียว เพราะอาจจะมีการคลาดเคลื่อนกันได้
เราจึงจำเป็นต้องมีการตั้งส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย หรือ Margin of Safety โดยการทยอยเข้าซื้อหุ้น ในราคาซึ่งต่ำกว่าที่เราประเมินไว้ ประมาณ 30% ถึง 50% หรือก็คือประมาณ 20.25 บาท ถึง 28.35 บาท
เพราะตัวคุณกวีเอง แม้จะเป็นนักวิเคราะห์ และนักลงทุนที่มากประสบการณ์แล้วก็ตาม แต่คุณกวีจะเข้าซื้อหุ้น ก็ต่อเมื่อ ราคาของหุ้นอยู่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง และมีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยที่เพียงพอแล้ว เท่านั้น
ถ้าราคาหุ้นยังแพงกว่าราคาเป้าหมาย คุณกวีก็จะเก็บเงินสดเอาไว้ก่อน
วิธีนี้ไม่เหมาะกับบริษัทเติบโตเร็ว
บริษัทที่เติบโตเร็ว ในหลาย ๆ ครั้ง มักจะไม่จ่ายปันผล เพราะต้องนำเงินที่เหลือไปลงทุน เพื่อให้บริษัทเติบโตขึ้น ทำให้เราไม่สามารถประเมินมูลค่าบริษัทนี้ จากวิธีประเมินมูลค่าด้วยเงินปันผลได้
และถึงแม้ว่า บริษัทนั้นจะสามารถจ่ายปันผลได้ แต่อัตราการเติบโตของเงินปันผล ก็จะสูงเกินผลตอบแทนที่คาดหวัง จนเราใช้วิธีประเมินมูลค่าด้วยเงินปันผล ไม่ได้เช่นกัน
ซึ่งถ้าหาก อัตราการเติบโตของเงินปันผล เกิดสูงเกินผลตอบแทนที่คาดหวัง เราก็สามารถใช้อัตราการเติบโต ให้เท่ากับ การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศไทย ที่อยู่ราว ๆ 3% แทนได้เช่นกัน
มูลค่าหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด
เมื่อบริษัทประกาศงบการเงินออกมา และบริษัทมีแผนการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป คุณกวีก็จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ เพื่อประเมินหามูลค่าที่แท้จริงใหม่ เพราะมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอด
ทางที่ดี หลังบริษัทประกาศงบการเงินรายปี และผู้บริหารออกมาให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางธุรกิจของบริษัทในอนาคตแล้ว
เราก็ควรประเมินหามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทใหม่ เพื่อจะได้รู้ว่า ตอนนี้ หุ้นของเรา ราคากำลังแพง หรือกำลังต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทกันแน่
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็เชื่อว่าเราคงพอเข้าใจกันดีขึ้นบ้างแล้วใช่ไหมว่า คุณกวีมีวิธีในการประเมินมูลค่าหุ้นอย่างไร
ซึ่งถ้าหากเราทำความเข้าใจ กับวิธีการประเมินมูลค่านี้ได้ ก็จะสามารถกลายเป็นพื้นฐาน ให้เราต่อยอดไปสู่ การประเมินมูลค่าหุ้น ในแบบอื่น ๆ ได้ในอนาคต..
References
หนังสือ เพาะหุ้นเป็น เห็นผลยั่งยืน ตอน มหัศจรรย์ผลตอบแทน (2559) โดย กวี ชูกิจเกษมThaiVI x Pi หัวข้อ “การลงทุนแบบ VI และการประเมินมูลค่าเบื้องต้น” วันที่ 19/11/2566