
กองทุนที่จะเอาชนะตลาด vs กองทุนอิงดัชนี แบบไหนดีกว่ากัน ?
23 ส.ค. 2022
กองทุนรวมที่เราลงทุนกัน ส่วนใหญ่จะมีแนวทางการลงทุนยอดนิยม แบ่งออกเป็น 2 แบบ
แบบแรก คือ Active Fund หรือกองทุนเชิงรุก จะอาศัยความสามารถของผู้จัดการกองทุน
ในการคัดเลือกลงทุนในธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายก็คือ เอาชนะตลาดหรือดัชนีอ้างอิงให้ได้
ในการคัดเลือกลงทุนในธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายก็คือ เอาชนะตลาดหรือดัชนีอ้างอิงให้ได้
แบบถัดมา ก็คือ Passive Fund หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Index Fund
จะเป็นขั้วตรงข้าม โดยจะไม่ขอชนะ แต่ขอล้อไปกับผลตอบแทนของตลาดเท่านั้น
จะเป็นขั้วตรงข้าม โดยจะไม่ขอชนะ แต่ขอล้อไปกับผลตอบแทนของตลาดเท่านั้น
วันนี้ เราลองมาดูกันว่ากองทุนที่อยากเอาชนะตลาด เป็นอย่างไร ?
รู้หรือไม่ว่าที่ผ่านมา Active Fund ในประเทศไทย มีน้อยกองทุนมาก
ที่สามารถทำผลงานได้ดีกว่ากองทุนแบบอิงดัชนี ตั้งแต่ปี 2002 ถึงปี 2020
ที่สามารถทำผลงานได้ดีกว่ากองทุนแบบอิงดัชนี ตั้งแต่ปี 2002 ถึงปี 2020
เหตุผลสำคัญก็เพราะว่ากองทุนประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะมีค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุน
หรือที่เรียกว่า Expense Ratio สูง จึงทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่แท้จริงต่ำลง
หรือที่เรียกว่า Expense Ratio สูง จึงทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่แท้จริงต่ำลง
แต่นักลงทุนชาวไทย ก็ยังนิยมลงทุนในกองทุนประเภทนี้เป็นจำนวนมาก
หากเรามาดูจำนวนกองทุน และมูลค่าของกองทุนแต่ละประเภท
หากเรามาดูจำนวนกองทุน และมูลค่าของกองทุนแต่ละประเภท
โดยในประเทศไทย ในปี 2019 มี Active Fund จำนวน 433 กองทุน
คิดเป็นมูลค่ารวมกันกว่า 1 ล้านล้านบาท
คิดเป็นมูลค่ารวมกันกว่า 1 ล้านล้านบาท
ในขณะที่มี Passive Fund จำนวน 45 กองทุน
คิดเป็นมูลค่า 0.12 ล้านล้านบาท
คิดเป็นมูลค่า 0.12 ล้านล้านบาท
พูดง่าย ๆ ก็คือ มูลค่าการลงทุนของนักลงทุนชาวไทย
อยู่ใน Active Fund มากเป็น 8 เท่า เมื่อเทียบกับกองทุนอิงดัชนีเลยทีเดียว
อยู่ใน Active Fund มากเป็น 8 เท่า เมื่อเทียบกับกองทุนอิงดัชนีเลยทีเดียว
จากที่เกริ่นไปว่า กองทุนประเภทนี้มีค่าธรรมเนียมที่สูง
แต่ผลตอบแทนในระยะยาว กลับไม่ได้สูงกว่ากองทุนอิงดัชนีอย่างชัดเจนมากนัก
จึงทำให้ในบางครั้ง ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนอิงดัชนี ที่คิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำกว่าในระยะยาว ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ทำให้นักลงทุน สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า
แต่ผลตอบแทนในระยะยาว กลับไม่ได้สูงกว่ากองทุนอิงดัชนีอย่างชัดเจนมากนัก
จึงทำให้ในบางครั้ง ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนอิงดัชนี ที่คิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำกว่าในระยะยาว ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ทำให้นักลงทุน สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า
ยกตัวอย่างเช่น
การลงทุนในกองทุนอิงดัชนี SET50 ของประเทศไทย
ที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้น โดยการนำเงินปันผลที่ได้รับในแต่ละปี กลับไปลงทุน
จะมีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 8.69% ในช่วงระหว่างปี 2003 ถึงปี 2019
โดยมีค่าธรรมเนียมการจัดการที่ต่ำที่สุดที่ 0.5% ต่อปี
ที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้น โดยการนำเงินปันผลที่ได้รับในแต่ละปี กลับไปลงทุน
จะมีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 8.69% ในช่วงระหว่างปี 2003 ถึงปี 2019
โดยมีค่าธรรมเนียมการจัดการที่ต่ำที่สุดที่ 0.5% ต่อปี
หากเราใช้วิธีลงทุนแบบซื้อเป็นประจำทุกเดือน หรือ Dollar-Cost Averaging เรียกสั้น ๆ ว่า DCA
เดือนละ 10,000 บาท ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ผลตอบแทนรวมเงินต้น จะเท่ากับ 4,403,087 บาท
เดือนละ 10,000 บาท ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ผลตอบแทนรวมเงินต้น จะเท่ากับ 4,403,087 บาท
แบ่งออกเป็น
เงินต้นที่ลงทุนทั้งหมดคือ 2,040,000 บาทผลตอบแทนจากการลงทุนสะสมทั้งหมด 2,363,087 บาท
จะเห็นได้ว่าด้วยระยะเวลาที่นานพอ และมีการลงทุนอย่างมีวินัยในทุก ๆ เดือน
ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน จะสามารถแซงเงินต้นได้ เช่นกัน
ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน จะสามารถแซงเงินต้นได้ เช่นกัน
ในปัจจุบัน เรายังมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่ไปลงทุนในกองทุนอิงดัชนีของต่างประเทศ
เช่น S&P 500 ของสหรัฐอเมริกา โดยคิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำกว่า 1% ด้วย
เช่น S&P 500 ของสหรัฐอเมริกา โดยคิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำกว่า 1% ด้วย
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าการลงทุนในกองทุนอิงดัชนี ก็ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย
แต่ก็ต้องบอกว่าฝั่ง Active Fund ก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสีย และมีเหตุผลที่ว่าทำไมถึงมีค่าธรรมเนียมแพงเหมือนกัน
นั่นก็เพราะว่าด้วยความที่กองทุนประเภทนี้ ต้องการลงทุนเพื่อเอาชนะตลาดอยู่เสมอ
บางธุรกิจ และบางธีม เป็นธุรกิจเฉพาะ ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเท่านั้น
ยิ่งยาก หรือยิ่งซับซ้อนเท่าไร ตลาดก็จะรู้น้อย
จุดนี้ก็ถือเป็นโอกาสจากการลงทุนใน Active Fund
บางธุรกิจ และบางธีม เป็นธุรกิจเฉพาะ ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเท่านั้น
ยิ่งยาก หรือยิ่งซับซ้อนเท่าไร ตลาดก็จะรู้น้อย
จุดนี้ก็ถือเป็นโอกาสจากการลงทุนใน Active Fund
หรือในบางครั้ง ที่เราเน้นผลตอบแทนในระยะสั้น ในช่วงที่ตลาดไม่ไปไหน
กองทุนประเภท Active Fund ที่มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ตามภาวะตลาดตลอดเวลา ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า
กองทุนประเภท Active Fund ที่มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ตามภาวะตลาดตลอดเวลา ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า
สรุปแล้ว การลงทุนใน Active Fund มีโอกาสทำให้เราชนะตลาด
มีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำได้ และมีค่าธรรมเนียมที่สูง
มีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำได้ และมีค่าธรรมเนียมที่สูง
ในขณะที่หากเราลงทุนในกองทุนอิงดัชนี
อย่างมากเราก็จะได้รับผลตอบแทนล้อไปกับตลาด แต่มีค่าธรรมเนียมที่ไม่แพง
อย่างมากเราก็จะได้รับผลตอบแทนล้อไปกับตลาด แต่มีค่าธรรมเนียมที่ไม่แพง
ซึ่งแนวทางการลงทุนแต่ละประเภท ก็มีจุดแข็งแตกต่างกันออกไป
ดังนั้น ก็เป็นหน้าที่ของเราด้วยว่า เราวางเป้าหมายไว้อย่างไร
ลงทุนนานขนาดไหน
ลงทุนเพื่ออะไร
และสามารถรับความเสี่ยงได้เท่าไร
เราต้องตอบสิ่งเหล่านี้ให้ได้ก่อน เราจึงจะรู้ว่า แนวทางการลงทุนแบบไหนเหมาะกับเรา..
ดังนั้น ก็เป็นหน้าที่ของเราด้วยว่า เราวางเป้าหมายไว้อย่างไร
ลงทุนนานขนาดไหน
ลงทุนเพื่ออะไร
และสามารถรับความเสี่ยงได้เท่าไร
เราต้องตอบสิ่งเหล่านี้ให้ได้ก่อน เราจึงจะรู้ว่า แนวทางการลงทุนแบบไหนเหมาะกับเรา..
References
-https://www.investing.com/indices/set-50-tri
-https://www.upmyinterest.com/sp500/
-The Simple Path to Wealth (2016) โดย J.L. Collins
-Skill versus luck: do actively managed equity mutual funds benefit investors in Thailand? (2020) โดย Chirasin Siriprachai
-https://www.investing.com/indices/set-50-tri
-https://www.upmyinterest.com/sp500/
-The Simple Path to Wealth (2016) โดย J.L. Collins
-Skill versus luck: do actively managed equity mutual funds benefit investors in Thailand? (2020) โดย Chirasin Siriprachai