
จาง รุ่ยหมิน ผู้สร้าง Haier ให้เป็นบริษัทระดับโลก มูลค่าล้านล้านบาท ด้วยค้อนและปลาดุก
2 เม.ย. 2025
“ทุบมันทิ้งให้หมด”
ชายหนุ่มท่าทางขึงขังกล่าวขึ้น ก่อนที่พนักงานของเขาทั้งหมด จะลงมือใช้ค้อนทุบตู้เย็นที่พวกเขาประกอบขึ้นมากับมือทั้ง 76 ตู้ จนแหลกไม่มีชิ้นดีตามคำสั่ง
การกระทำแบบนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นการลงโทษลูกน้องทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการทำงาน
แต่สิ่งที่ชายท่าทางขึงขังคนนี้ที่ชื่อว่า “คุณจาง รุ่ยหมิน” CEO ของ Haier ณ ตอนนั้น กำลังคิดอยู่ มันไกลไปมากกว่านั้น
เพราะการกระทำครั้งนี้ เป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่จะเปลี่ยนให้โรงงานโทรม ๆ แห่งนี้ กลายเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับโลก
แล้วอะไรที่คุณจาง ใช้ในการสร้าง Haier ให้เติบโตขึ้นได้ จนกลายเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า มูลค่าล้านล้านบาท ได้แบบนี้ ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
ภาคอุตสาหกรรมของประเทศจีน ในช่วงทศวรรษ 1980 หรือช่วงแรก ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ
ยังไม่ได้รับการพัฒนามากนัก
ประกอบกับการที่ประเทศจีนในตอนนั้นมีประชากรมาก และค่าแรงถูก
ทำให้สิ่งที่สินค้าจีนพอจะสู้กับประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนานำไปไกลแล้วได้บ้าง ก็มีแต่การผลิตสินค้าให้ราคาถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนคุณภาพไว้ค่อยว่ากันทีหลัง
ทำให้สินค้าที่ Made in China เมื่อติดตราออกไป ก็จะกลายเป็นสินค้าที่ทำให้ใครเห็นก็ต้องยี้
และนั่นเป็นสิ่งที่คุณจาง มองว่าเป็นปัญหามากที่สุด เพราะบริษัทตู้เย็นชิงเต่า ซึ่งเป็นชื่อเริ่มแรกของ Haier ที่เขาต้องเข้ามากอบกู้ ก่อนที่จะล้มละลายในปี 1984 ก็กำลังเป็นแบบนี้อยู่เช่นกัน
เพราะพนักงานต่างก็พากันผลิตแต่ตู้เย็นคุณภาพแย่มาโดยตลอด จนไม่มีแม้แต่ภาพในหัวด้วยซ้ำ ว่าตู้เย็นที่ดีนั้น ควรจะหน้าตาเป็นอย่างไร
ทำให้ขั้นแรก คุณจางจึงต้องการสื่อสารกับพนักงานทุกคนว่า การผลิตสินค้าไร้คุณภาพออกมาเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ และ Haier จะไม่ทำแบบนั้นอีกต่อไป
นั่นจึงนำมาสู่เหตุการณ์ที่คุณจาง ต้องสั่งให้พนักงานทุบตู้เย็นไร้คุณภาพทั้ง 76 ตู้ ทิ้งให้หมดด้วยมือของตัวเอง
พร้อมกับแก้ปัญหานี้ด้วยการไปเป็นพันธมิตรกับโรงงานผลิตตู้เย็น Liebherr จากเยอรมนี เพื่อเรียนรู้วิธีการผลิตตู้เย็นที่มีคุณภาพ
การพัฒนาคุณภาพสินค้านี้เอง ที่สร้างความแตกต่างระหว่าง Haier กับผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเจ้าอื่น ๆ
พร้อมสร้างยอดขายถล่มทลาย จนบริษัทพลิกกลับมามีกำไรเป็นครั้งแรก หลังจากคุณจาง เข้ามาบริหารได้แค่ 2 ปี
จนทางรัฐบาลท้องถิ่นของชิงเต่า ต้องขอให้คุณจาง เข้าไปซื้อกิจการของโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ในเมืองชิงเต่า ที่กำลังจะล้มละลายบ้าง
ทำให้ตอนนี้ บริษัทผลิตตู้เย็นชิงเต่า ไม่ได้ผลิตแค่ตู้เย็นอีกต่อไป แต่ยังมีทั้งไมโครเวฟ, เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า
เมื่อไม่ได้ผลิตแค่ตู้เย็นแล้ว คุณจางจึงนำ 2 พยางค์สุดท้ายของชื่อ Liebherr พันธมิตรของตัวเอง มาเป็นชื่อแบรนด์ Haier แทนชื่อบริษัทผลิตตู้เย็นชิงเต่า
ซึ่งไม่เพียงแต่สะท้อนตัวตนว่าบริษัทไม่ได้ผลิตแค่ตู้เย็น แต่ยังเป็นการสร้างภาพจำใหม่ให้กับลูกค้าทั้งในประเทศ และต่างชาติ ว่าแบรนด์มีคุณภาพด้วยการที่มีชื่อคล้ายกับภาษาเยอรมัน
ไม่ต่างจากที่สินค้าต่าง ๆ ในไทยชอบตั้งชื่อแบรนด์เป็นภาษาญี่ปุ่น เพื่อสร้างภาพจำให้กับลูกค้าว่าสินค้าของตัวเองมีคุณภาพ
กลยุทธ์นี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะในปี 1984 ปีแรกที่คุณจางมาบริหาร Haier มียอดขายอยู่แค่ 3.5 ล้านหยวน (ประมาณ 85 ล้านบาท ในปัจจุบัน)
แต่ในปี 2000 ซึ่งเป็นช่วงที่ Haier เริ่มพยายามออกไปตีตลาดโลก ยอดขายของ Haier ขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้านหยวน (ประมาณ 300,000 ล้านบาท ในปัจจุบัน)
อยู่มาวันหนึ่ง ช่างซ่อมเครื่องซักผ้าของ Haier ได้รับสายจากชาวนาคนหนึ่งในชนบทของจีน ที่โทรเข้ามาขอให้เขาไปซ่อมเครื่องซักผ้าให้ เพราะดินเข้าไปอุดตันท่อน้ำทิ้ง ของเครื่องซักผ้า
แม้จะสงสัยว่าดินจะเข้าไปอุดตันท่อได้อย่างไร แต่เมื่อช่างคนนั้นได้ไปถึงจุดเกิดเหตุก็ถึงบางอ้อ เพราะชาวนาคนนั้น ไม่ได้ใช้เครื่องซักผ้าเพียงแค่ซักผ้า แต่ยังใช้มันเป็นเครื่องล้างผักจำเป็นด้วย
ถ้าเป็นบริษัทอื่น ๆ ก็คงจะโทษลูกค้าว่าเครื่องซักผ้าก็ต้องเก็บไว้ซักผ้า จะเอาไปล้างผักทำไม แต่ Haier กลับไม่ทำแบบนั้น
เพราะ Haier นั้นมีปรัชญาการบริหารที่เรียกว่า “RenDanHeyi” ที่เน้นย้ำให้พนักงานทำงานใกล้ชิดกับลูกค้าและผู้ใช้งาน
โดยคุณจางจะแบ่งพนักงานออกเป็นกลุ่มย่อย ให้เป็นเหมือนกับบริษัทเล็ก ๆ นับร้อยกลุ่ม ที่มีการทำงบกำไรขาดทุนเป็นของตัวเอง และสามารถตัดสินใจสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าได้เลย ถ้าสามารถคิดและทำได้
เพราะคุณจางมองว่า สิ่งที่พนักงานควรจะฟังไม่ใช่เสียงสั่งงานจากหอคอยงาช้าง ของหัวหน้าหรือผู้บริหาร แต่คือเสียงของลูกค้าในตลาดต่างหาก ที่พวกเขาควรจะฟัง
นั่นจึงทำให้ Haier สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เช่น เครื่องซักผ้าที่ล้างผักได้ และทำให้พนักงานทุ่มเทกับการทำงานมากขึ้น เพราะรู้สึกได้ถึงความเป็นเจ้าของในผลงานตัวเอง
นอกจากนี้คุณจาง ยังได้นำวิธีการบริหารที่เรียกว่า “การบริหารแบบปลาดุก” หรือ Catfish Management มาใช้งานอีกด้วย
ที่เรียกว่าการบริหารแบบปลาดุกนั้น ก็มาจากการที่ชาวประมงชาวนอร์เวย์ มักจะใส่ปลาดุกลงในแท็งก์น้ำที่ใส่ปลาซาร์ดีนที่จับมาได้ไว้
ซึ่งปลาดุกที่กินปลาอื่นได้ ก็จะไล่ล่าเหล่าปลาซาร์ดีนในแท็งก์ ทำให้ปลาซาร์ดีนต้องตื่นตัวตลอดเวลา และไม่เฉาตายคาแท็งก์น้ำ
เช่นเดียวกัน ในแต่ละกลุ่มย่อยของ Haier จะมีหัวหน้าตัวจริง และหัวหน้าตัวสำรอง ที่พร้อมจะมาแทนที่ผู้บริหารคนก่อนอยู่เสมอ หากว่าทำตามเป้าหมายไม่ได้ เหมือนกับปลาดุก ที่ไล่ล่าปลาซาร์ดีนอยู่ในแท็งก์น้ำ
ทำให้หัวหน้าตัวจริง ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อไม่ให้ตัวเองโดนปลดจากตำแหน่ง
ด้วยการใช้ “ค้อน” ทุบทำลายภาพในหัวของพนักงานทุกคน ว่าเราต้องเน้นผลิตของราคาถูก แม้จะไร้คุณภาพ
และใช้ “ปลาดุก” ในการผลักดันให้คนในองค์กรต้องตื่นตัว กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด
ก็ทำให้ปัจจุบันนี้ Haier ยังไม่หยุดที่จะพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ อยู่เสมอ แม้คุณจาง จะเกษียณจากตำแหน่ง CEO ไปแล้วตั้งแต่ปี 2021
เพราะในปัจจุบันที่โลกก้าวเข้าสู่ยุค AI ทาง Haier ก็ได้ออกสินค้าใหม่ ๆ ที่ใช้ AI เข้ามาประกอบ เช่น เครื่องซักผ้าอัจฉริยะ ที่วิเคราะห์ระดับน้ำและวิธีการซักที่ต้องใช้ได้ เพียงแค่ใส่ผ้าเข้ามา
หรือเตาอบอัจฉริยะ ที่สามารถรู้ได้เลยว่าจะต้องใช้อุณหภูมิเท่าไร และใช้เวลากี่นาที เพื่อให้อาหารออกมารสชาติดีที่สุด เพียงแค่ใส่อาหารเข้ามา
รวมไปถึง HomeGPT โมเดล AI ที่ช่วยดูแลให้บ้านของลูกค้า ที่ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าของ Haier เป็นบ้านอัจฉริยะ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผ่านการเก็บและประมวลผลข้อมูลพฤติกรรมการใช้ของลูกค้า
จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จากรายงานประจำปี 2024 ของบริษัท Haier Smart Home ซึ่งเป็นชื่อบริษัทของ Haier ที่จดทะเบียนในฮ่องกง
จะรายงานว่าพวกเขาเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ที่ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ไม่เพียงในจีนเท่านั้น แต่ยังเป็นอันดับ 1 ในทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ รวมถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อีกด้วย
พร้อมทั้งทำให้ Haier กลายเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับโลก มูลค่าล้านล้านบาท อย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ รู้หรือไม่ว่า ถ้าเราเข้าไปเดินใน Haier Home Appliance Museum พิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าความเป็นมาของ Haier ที่เมืองชิงเต่า
เราจะได้เจอกับ หนึ่งในค้อนที่พนักงานของคุณจาง ใช้ทุบทำลายเหล่าตู้เย็นไร้คุณภาพในวันนั้น ตั้งอยู่ในตู้กระจก
เพราะว่านั่นคือสิ่งที่ย้ำเตือน Haier อยู่เสมอว่า ความใส่ใจในคุณภาพสินค้า คือจุดเริ่มต้นความยิ่งใหญ่ทั้งหมด ของบริษัทในวันนี้..
#ลงทุน
#หุ้นจีน
#Haier
References
-รายงานประจำปี 2024 บริษัท Haier Smart Home
—------------------
Haier อยู่ใน MEGA10AICHINA
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัทชั้นนำด้าน AI ในจีน กับ MEGA10AICHINA /โดย บลจ.ทาลิส
กองทุนเปิด MEGA10AICHINA มี 2 ชนิด
1) ชนิดสะสมมูลค่า หรือ MEGA10AICHINA-A
2) ชนิดเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ MEGA10AICHINARMF
MEGA10AICHINA-A ลงทุนในแบบ Rule-Based Approach มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน และ/หรือ หลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ที่ดำเนินธุรกิจ และ/หรือ กิจกรรมที่มีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่า กับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่เป็นส่วนประกอบในดัชนี Hang Seng Artificial Intelligence Theme Index
ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาเลือกลงทุนในตราสารทุนของบริษัทข้างต้นจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องจำนวน 10 บริษัท* เช่น
- SMIC (ผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของจีน)
- Li Auto (ผู้ผลิตรถยนต์อัจฉริยะขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และมีแผนที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ Humanoid)
- Kuaishou (แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยมที่ขับเคลื่อนด้วย AI)
- Xiaomi (ผู้ผลิตสมาร์ตโฟน รถยนต์ EV และอุปกรณ์อัจฉริยะรายใหญ่)
- Alibaba (E-Commerce และ Cloud รายใหญ่ที่สุดในจีน ผู้ให้บริการ AI ชื่อ Qwen)
- Tencent (เจ้าของ WeChat แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งาน 1.38 พันล้านคน และมี Ecosystem ที่สมบูรณ์แบบในการแนะนำบริการต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้งานชาวจีน)
โดยกองทุนจะมีการลงทุนที่ส่งผลให้มี Net Exposure ในตราสารทุนข้างต้นโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนในรูปของสกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกง (HKD) และไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
MEGA10AICHINARMF จะเข้าไปลงทุนในหน่วยลงทุน MEGA10AICHINA-A (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว ซึ่งบริหารจัดการโดย บลจ.ทาลิส โดยกองทุนจะลงทุนในกองทุนหลักโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส โทร. 02-0150215, 02-0150216,
02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน
กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลา
นอกจากนี้จะต้องชำระเงินเพิ่ม และ/หรือ เบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร
ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต