ทำไมบริษัท ASML ถึงขายเครื่องผลิตชิป ได้ราคาแพง กว่าเครื่องบินรบ

ทำไมบริษัท ASML ถึงขายเครื่องผลิตชิป ได้ราคาแพง กว่าเครื่องบินรบ

1 ส.ค. 2024
“ตอนที่ทุกคนตื่นทอง จงขายพลั่ว” ประโยคนี้ถูกกล่าวขึ้น ในช่วงยุคตื่นทองในแคลิฟอร์เนีย เมื่อเกือบ 200 ปีที่แล้ว
เพราะคนที่ร่ำรวยจากตอนนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ที่ขายอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้กับผู้คนที่พากันไปขุดทองนั่นเอง
ในตอนนี้กระแส “ยุคตื่น AI” ก็ไม่ได้ต่างกัน เพราะหลังจากผู้คนได้เห็นว่า AI ทำอะไรมหัศจรรย์ได้บ้าง ก็พากันสั่งซื้อชิป ซึ่งเป็นพลังประมวลผลของ AI กันอย่างบ้าคลั่ง
แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ในวันนี้ไม่ได้มีคนขายพลั่วหลายคนเหมือนเก่า เพราะบริษัท ASML เป็นผู้ขายเครื่องผลิตชิประดับสูงเพียงรายเดียวเท่านั้น
แล้วทำไม ASML ถึงเป็นผู้ขายเครื่องผลิตชิปเพียงรายเดียว ที่กำลังได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ ? 
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
ASML ย่อมาจากคำว่า Advanced Semiconductor Materials Lithography เป็นบริษัทของเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1984
ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ 2 บริษัทใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ คือ
- Philips ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องมือทางการแพทย์รายใหญ่เบอร์ต้น ๆ ของโลก
- ASM International บริษัททำเครื่องผลิตชิปรายใหญ่ในเนเธอร์แลนด์
ASML ถูกก่อตั้งขึ้นมา เพื่อพัฒนาเครื่องผลิตชิป ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง
ลูกค้าของ ASML ก็คือธุรกิจโรงงานผลิตชิปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นโรงงานของ TSMC, Samsung และ Intel ที่ต้องการเครื่องจักรไปติดตั้งในโรงงานของตัวเอง
ซึ่งจริง ๆ แล้ว ในอุตสาหกรรมเครื่องผลิตชิป ก็มีคู่แข่งรายอื่นอยู่ด้วย เช่น Nikon และ Canon จากญี่ปุ่น
แต่สิ่งที่ทำให้ ASML มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งก็คือ การมีทุนจากบริษัทใหญ่ทั้ง 2 แห่ง ให้การสนับสนุนอยู่ข้างหลัง
และใช้ข้อได้เปรียบจากความเชี่ยวชาญเรื่องแสงของ Philips และการประกอบเครื่องผลิตชิปของ ASM
มาสร้างเทคโนโลยีการผลิตชิปที่ล้ำหน้ากว่าคู่แข่งรายอื่น ในการผลิตชิปที่มีขนาดเล็กกว่าได้
พอบริษัทมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยกว่าคู่แข่งรายอื่น ๆ แบบนี้ ก็ทำให้โรงงานผลิตชิปอย่าง TSMC และ Samsung ที่อยากผลิตชิปขั้นสูงที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ก็ต้องพึ่งพาเครื่องจักรของ ASML แต่เพียงผู้เดียว
นั่นจึงทำให้ ASML มีอำนาจกำหนดราคาสินค้าของตัวเอง ซึ่งหนึ่งในสินค้าเรือธงของ ASML ก็คือเครื่องจักรที่มีชื่อว่า Extreme Ultraviolet Lithography หรือ EUV
เราลองมาดูตัวเลขราคาที่ ASML ขายเครื่อง EUV ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมากัน
ปี 2011 ขายเครื่องละ 1,570 ล้านบาท
ปี 2017 ขายเครื่องละ 5,576 ล้านบาท
ปี 2023 ขายเครื่องละ 6,760 ล้านบาท
และล่าสุด ASML ได้คิดค้นเครื่อง EUV รุ่นอัปเกรดจากของเดิม เรียกว่า High-NA EUV ที่เพิ่งส่งมอบให้ Intel ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ก็มีราคาสูงถึง 14,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ราคาของ High-NA EUV และเครื่อง EUV แบบธรรมดา ถือว่ามีราคาสูงกว่าเครื่องบินรบ F-35 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 6,500 ล้านบาทเสียอีก
แต่ด้วยกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน และขนาดของเครื่อง EUV ที่ใหญ่เท่ากับรถบัส 1 คัน ทำให้ในปี 2023 ASML ขายเครื่อง EUV ได้เพียง 53 เครื่องเท่านั้น
เมื่อปริมาณการผลิตทำได้อย่างจำกัดในแต่ละปี ASML จึงเลือกที่จะขึ้นราคาขายเครื่อง EUV ในทุก ๆ ปี เพื่อสร้างการเติบโตของผลประกอบการ
เราลองมาดูผลประกอบการย้อนหลัง 10 ปีของ ASML กัน
- ปี 2011 รายได้ 283,000 ล้านบาท กำไร 74,800 ล้านบาท
- ปี 2017 รายได้ 368,000 ล้านบาท กำไร 86,100 ล้านบาท
- ปี 2023 รายได้ 1,072,000 ล้านบาท กำไร 305,000 ล้านบาท
ที่น่าสนใจคือ รายได้ 1 ล้านล้านบาท ในปี 2023 มาจากการขายเครื่องผลิตชิปทุกประเภทเพียง 600 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วน 80% อีก 20% มาจากรายได้จากการบริการซ่อมบำรุง
จะเห็นได้ว่า แม้ ASML จะเป็นบริษัทที่สามารถผลิตสินค้าได้ไม่กี่ชิ้นในแต่ละปี แต่ก็สามารถสร้างการเติบโตของรายได้แตะหลักล้านล้านบาทได้ เพราะมีอำนาจในการขึ้นราคาสินค้านั่นเอง
เรื่องนี้ก็น่าคิดว่า
ในระหว่างที่คนกำลังตื่นเต้นกับกระแส AI
หลายคนอาจจะโฟกัสแต่ความฉลาดล้ำของปัญญาประดิษฐ์ที่อยู่ข้างหน้า
แต่ในเบื้องหลัง ความฉลาดล้ำที่ได้มา
มันต้องใช้อุปกรณ์ที่มากมาย ที่หลายคนก็อาจนึกไม่ถึงว่าจะได้ประโยชน์ไปด้วย
ไม่ต่างอะไรจากประโยคที่บอกว่า คนที่รวยจากยุคตื่นทอง ก็คือ คนที่ขายเครื่องมือให้คนขุดทอง นั่นเอง..
—---------------------------------------------------------------
เปิดจอง IPO MEGA10EURO วันที่ 30 ก.ค. - 6 ส.ค. นี้
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัททรงอิทธิพลในยูโรโซน กับ MEGA10EURO
- กองทุนเปิด MEGA10EURO ชนิดสะสมมูลค่า (MEGA10EURO-A) ชนิดเพื่อการออม (MEGA10EURO-SSF) และกองทุนเปิด MEGA10EURO เพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA10EURORMF) เป็นกองทุนที่จะเข้าไปลงทุนในบริษัทที่อยู่ใน Euro Stoxx 50 ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มประเทศยูโรโซน
โดยคัดเลือกมาจากบริษัท ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูง และมีสภาพคล่องสูง จำนวน 10 บริษัท เช่น LVMH, L'Oréal, Hermès, Inditex (เจ้าของ Zara) และ EssilorLuxottica*
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น 
MEGA10EURO-A เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
MEGA10EURO-SSF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว 
MEGA10EURORMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ 
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
ผู้สนับสนุนการขาย ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
3. บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
4. บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
6. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
8. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
9. บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
10. บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
11. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
12. บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
13. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
14. บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
15. บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)
16. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
17. บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
18. บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
19. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
20. บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
21. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
22. บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
23. บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
24. บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
25. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
26. บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
27. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 
28. บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด
29. บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ และเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน
กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ และ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
References
- รายงานประจำปี 2023 ของบริษัท ASML
© 2024 MONEY LAB. All rights reserved. Privacy Policy.