จ่ายปันผล หรือ ไม่จ่ายปันผล กองทุนแบบไหน ที่ใช่สำหรับเรา
15 พ.ค. 2024
จ่ายปันผล หรือ ไม่จ่ายปันผล กองทุนแบบไหน ที่ใช่สำหรับเรา | MONEY LAB
หนึ่งในข้อสงสัย ของนักลงทุนมือใหม่หลายคน ในการเลือกซื้อกองทุนรวม นั่นคือ
เราควรจะเลือกซื้อกองทุนรวมแบบไหนดี เพราะนอกจากกองทุน จะแบ่งตามนโยบายการลงทุนเป็น Passive Fund และ Active Fund แล้ว
ในกองทุนเหล่านั้น ก็ยังแบ่งเป็นกองทุนที่จ่ายปันผล และไม่จ่ายปันผล อีกด้วย
แล้วถ้าหากคุณสงสัย ว่าทั้ง 2 แบบต่างกันอย่างไร และแบบไหนดีกว่ากัน ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
การลงทุนในกองทุนรวม เป็นการรวบรวมเงินของนักลงทุน แล้วนำไปลงทุนตามสินทรัพย์แต่ละประเภท ที่กองทุนแต่ละกองทุนได้กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาดเงิน พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น หรือแม้แต่ทองคำ หรือน้ำมัน
และเมื่อกองทุนมีกำไรจากการลงทุน ก็จะนำกำไรนั้นมาแบ่งจ่ายให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน
กองทุนรวมแบบนี้เรียกว่า “กองทุนรวมแบบจ่ายปันผล”
ซึ่งเรามักจะเห็นชื่อกองทุนรวมประเภทนี้มีตัว D ต่อท้าย
ซึ่งเรามักจะเห็นชื่อกองทุนรวมประเภทนี้มีตัว D ต่อท้าย
เช่น TLDIVEQ-D หรือ KFHEALTH-D
แต่ถ้าหากกองทุนรวมมีกำไรแล้ว นำกำไรนั้นไปลงทุนต่อ
จะเรียกว่า กองทุนรวมแบบไม่จ่ายปันผล
หรือกองทุนรวมแบบสะสมมูลค่า
จะเรียกว่า กองทุนรวมแบบไม่จ่ายปันผล
หรือกองทุนรวมแบบสะสมมูลค่า
กองทุนรวมประเภทนี้ บางกองทุนจะมีตัว A ต่อท้าย
แต่บางกองทุนก็จะมีแค่ชื่อกองทุนเท่านั้น
แต่บางกองทุนก็จะมีแค่ชื่อกองทุนเท่านั้น
เช่น MEGA10-A หรือ TLEQ
และอีกวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้เรารู้ว่ากองทุนรวมที่เราสนใจนั้น เป็นแบบจ่ายปันผลหรือไม่จ่ายปันผล
คือการดูข้อมูลในหนังสือชี้ชวน ในส่วนนโยบายการลงทุน และนโยบายเงินปันผล
แล้วกองทุนรวมแบบไหนดีกว่ากัน ?
ลองมาดูตัวอย่างกองทุนรวมแบบเดียวกัน แต่มีให้เลือกทั้งแบบมีเงินปันผล และไม่มีเงินปันผล
KFHEALTH-A แบบไม่มีเงินปันผล
KFHEALTH-D แบบมีเงินปันผล
KFHEALTH-A แบบไม่มีเงินปันผล
KFHEALTH-D แบบมีเงินปันผล
เปรียบเทียบกันย้อนหลัง 5 ปี จะพบว่า
KFHEALTH-A
NAV 8.1506 ณ วันที่ 30 เม.ย. 2562
NAV 13.8708 ณ วันที่ 30 เม.ย. 2566
NAV 8.1506 ณ วันที่ 30 เม.ย. 2562
NAV 13.8708 ณ วันที่ 30 เม.ย. 2566
KFHEALTH-D
NAV 7.6863 ณ วันที่ 30 เม.ย. 2562
NAV 8.8283 ณ วันที่ 30 เม.ย. 2566
NAV 7.6863 ณ วันที่ 30 เม.ย. 2562
NAV 8.8283 ณ วันที่ 30 เม.ย. 2566
จากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นได้ว่ากองทุนที่จ่ายปันผลนั้น มี NAV ที่ต่ำกว่า กองทุนที่ไม่จ่ายปันผล
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า NAV คืออะไร ?
NAV ย่อมาจาก Net Asset Value
คือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ซึ่งจะมีการคำนวณ และประกาศทุกสิ้นวันทำการ
โดยราคา NAV ที่เราเห็น ก็คือ NAV ต่อหน่วยการลงทุน
คือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ซึ่งจะมีการคำนวณ และประกาศทุกสิ้นวันทำการ
โดยราคา NAV ที่เราเห็น ก็คือ NAV ต่อหน่วยการลงทุน
แล้วทำไม NAV ของกองทุนรวมแบบจ่ายปันผล ถึงต่ำกว่ากองทุนที่ไม่จ่ายปันผล ?
นั่นก็เพราะว่า เงินปันผลที่จ่ายออกมานั้น ก็คือเงินสดที่ทางกองทุนได้มา จากการนำเงินของเราไปลงทุนในหุ้น และได้ปันผล
ซึ่งเงินสดเหล่านั้น ก็นับว่าเป็นสินทรัพย์เช่นกัน ทำให้เมื่อกองทุนจ่ายเงินปันผลออกมาให้เรา ก็จะทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวมลดลง และทำให้ราคา NAV ของกองทุนรวมลดลงตาม
และในทางตรงกันข้าม กองทุนรวมที่ไม่จ่ายเงินปันผล
จะนำกำไรที่เพิ่มขึ้นไปลงทุนต่อ มูลค่า NAV จึงเพิ่มขึ้นตามมูลค่าสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
จะนำกำไรที่เพิ่มขึ้นไปลงทุนต่อ มูลค่า NAV จึงเพิ่มขึ้นตามมูลค่าสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
ทีนี้เราลองสมมติว่า เมื่อ 5 ปีที่แล้ว เราลงทุนด้วยเงินต้น 1,000,000 บาทเท่ากัน ทั้ง 2 กองทุน
ถ้าเลือกลงทุนใน KFHEALTH-A
มูลค่าเงินลงทุนจาก 1,000,000 บาท
จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,701,813 บาท
มูลค่าเงินลงทุนจาก 1,000,000 บาท
จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,701,813 บาท
ถ้าเลือกลงทุนใน KFHEALTH-D
มูลค่าเงินลงทุนจาก 1,000,000 บาท
จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,148,576 บาท
มูลค่าเงินลงทุนจาก 1,000,000 บาท
จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,148,576 บาท
และตลอด 5 ปี ได้รับเงินปันผล 3.50 บาทต่อหน่วย
หักภาษี 10% เท่ากับจะได้ปันผลเป็นเงิน 409,820 บาท
หักภาษี 10% เท่ากับจะได้ปันผลเป็นเงิน 409,820 บาท
รวมแล้วเท่ากับ 1,558,396 บาท
จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า กองทุนรวมแบบไม่จ่ายปันผล ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ซึ่งก็ทำให้เห็นภาพว่า หากอยากลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า
ให้เงินต้นงอกเงย การเลือกกองทุนรวมแบบไม่จ่ายปันผล
ก็จะตอบโจทย์มากกว่า
ให้เงินต้นงอกเงย การเลือกกองทุนรวมแบบไม่จ่ายปันผล
ก็จะตอบโจทย์มากกว่า
เพราะการลงทุนในกองทุนรวมที่ไม่จ่ายปันผล เงินของเราจะทบต้นไปเรื่อย ๆ เมื่อระยะเวลาผ่านไปหลายปี เงินก็จะโตขึ้น ๆ
ในทางตรงกันข้าม หากต้องการมีเงินใช้ระหว่างทาง
หรือมองว่าหากลงทุนแล้วได้เงินออกมาบ้าง ทำให้อุ่นใจกว่า ก็ควรเลือกกองทุนรวมแบบมีเงินปันผล
หรือมองว่าหากลงทุนแล้วได้เงินออกมาบ้าง ทำให้อุ่นใจกว่า ก็ควรเลือกกองทุนรวมแบบมีเงินปันผล
แต่อย่าลืมว่า เงินปันผลที่ถูกจ่ายออกมา
จะถูกหักภาษี 10%
จะถูกหักภาษี 10%
ดังนั้นหากใครที่ซื้อกองทุนรวมแบบจ่ายเงินปันผล
แล้วจะนำเงินปันผลที่ได้ไปลงทุนต่อ ก็ต้องพิจารณาเรื่องภาษีด้วย
แล้วจะนำเงินปันผลที่ได้ไปลงทุนต่อ ก็ต้องพิจารณาเรื่องภาษีด้วย
สรุปแล้ว การลงทุนทั้ง 2 แบบ ต่างก็มีข้อดีที่แตกต่างกัน
แต่ถ้าหากจะบอกว่าแบบไหนดีกว่านั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการลงทุนของนักลงทุนแต่ละคน..
แต่ถ้าหากจะบอกว่าแบบไหนดีกว่านั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการลงทุนของนักลงทุนแต่ละคน..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายกองทุนรวมเหล่านี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน ก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
References
-https://www.setinvestnow.com/th/mutualfund/types-of-mutual-funds
-https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.aspx?fund=KFHEALTH-A
-https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.aspx?fund=KFHEALTH-D
-https://www.talisam.co.th/mutual-fund/#fund-info
-https://www.finnomena.com/podcast/growth-or-div/
-https://www.setinvestnow.com/th/mutualfund/types-of-mutual-funds
-https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.aspx?fund=KFHEALTH-A
-https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.aspx?fund=KFHEALTH-D
-https://www.talisam.co.th/mutual-fund/#fund-info
-https://www.finnomena.com/podcast/growth-or-div/