McDonald’s มีรายได้จากอสังหาฯ มากกว่า ขายเบอร์เกอร์
3 พ.ย. 2023
ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพจำ McDonald’s ของหลายคนคือ ร้านอาหารฟาสต์ฟูด ที่มีสินค้าเด่น ๆ อย่างเช่น เฟรนช์ฟรายส์ หรือแฮมเบอร์เกอร์
พอเป็นแบบนี้ หลายคนก็น่าจะคิดว่า รายได้หลักของบริษัทจะมาจากการขายอาหาร
แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว McDonald’s มีรายได้จากค่าเช่า จากอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทซื้อมา แล้วปล่อยเช่าให้กับร้านแฟรนไชส์ มากกว่ารายได้จากการขายอาหารเสียอีก
โดยรายได้ทุก ๆ 100 บาท ของ McDonald’s แบ่งเป็น
- รายได้จากค่าเช่าที่ ที่ McDonald’s ปล่อยเช่าให้ร้านแฟรนไชส์ 39 บาท
- รายได้จากการขายอาหารในร้านตัวเอง 38 บาท
- รายได้จากส่วนแบ่งรายได้ร้านแฟรนไชส์ และค่าธรรมเนียมแรกเข้า 22 บาท
- รายได้อื่น ๆ 1 บาท
ส่วนค่าใช้จ่ายหลักของบริษัทก็คือ ต้นทุนขายสินค้าในร้านตัวเอง เช่น วัตถุดิบ, จาน, ช้อน และค่าจ้างพนักงาน ที่คิดเป็นทั้งหมด 32 บาท
นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น
- ต้นทุนขายสินค้าในร้านแฟรนไชส์ 10 บาท
- ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 12 บาท
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 6 บาท
- ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ 2 บาท
- ดอกเบี้ย 5 บาท
- ภาษี 7 บาท
ซึ่งโมเดลธุรกิจแบบแฟรนไชส์ของ McDonald’s ทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบในการควบคุมต้นทุนมากขึ้น และสามารถขยายธุรกิจไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ การที่ร้านมีเมนูที่ทำได้ง่าย ๆ และรวดเร็ว ก็ทำให้ต้นทุนอาหารไม่เยอะเหมือนร้านอาหารทั่วไป
ที่สำคัญคือ การมีที่ดินในมือตัวเองเป็นจำนวนมาก และปล่อยให้เช่าได้ ก็ได้กลายเป็นแหล่งทำเงินสำคัญให้กับบริษัท
และมีเงินทุนมากพอ สามารถนำไปใช้ในการขยายธุรกิจต่อได้อีกด้วย
ซึ่งถ้าไปดูในงบแสดงฐานะการเงิน จะพบว่า McDonald’s มีที่ดิน, อาคาร และอุปกรณ์ รวมถึงสิทธิ์ในการเช่าพื้นที่ รวมเป็นมูลค่าถึง 1.3 ล้านล้านบาท
หรือคิดเป็น 72% ของสินทรัพย์ทั้งหมดเลยทีเดียว
ซึ่งทั้งหมดนี้ ส่งผลให้รายได้ทุก ๆ 100 บาท ของ McDonald’s เหลือกำไรมากถึง 26 บาท..
cปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพจำ McDonald’s ของหลายคนคือ ร้านอาหารฟาสต์ฟูด ที่มีสินค้าเด่น ๆ อย่างเช่น เฟรนช์ฟรายส์ หรือแฮมเบอร์เกอร์
พอเป็นแบบนี้ หลายคนก็น่าจะคิดว่า รายได้หลักของบริษัทจะมาจากการขายอาหาร
แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว McDonald’s มีรายได้จากค่าเช่า จากอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทซื้อมา แล้วปล่อยเช่าให้กับร้านแฟรนไชส์ มากกว่ารายได้จากการขายอาหารเสียอีก
โดยรายได้ทุก ๆ 100 บาท ของ McDonald’s แบ่งเป็น
รายได้จากค่าเช่าที่ ที่ McDonald’s ปล่อยเช่าให้ร้านแฟรนไชส์ 39 บาท
รายได้จากการขายอาหารในร้านตัวเอง 38 บาท
รายได้จากส่วนแบ่งรายได้ร้านแฟรนไชส์ และค่าธรรมเนียมแรกเข้า 22 บาท
รายได้อื่น ๆ 1 บาท
ส่วนค่าใช้จ่ายหลักของบริษัทก็คือ ต้นทุนขายสินค้าในร้านตัวเอง เช่น วัตถุดิบ, จาน, ช้อน และค่าจ้างพนักงาน ที่คิดเป็นทั้งหมด 32 บาท
นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น
ต้นทุนขายสินค้าในร้านแฟรนไชส์ 10 บาท
ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 12 บาท
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 6 บาท
ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ 2 บาท
ดอกเบี้ย 5 บาท
ภาษี 7 บาท
ซึ่งโมเดลธุรกิจแบบแฟรนไชส์ของ McDonald’s ทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบในการควบคุมต้นทุนมากขึ้น และสามารถขยายธุรกิจไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ การที่ร้านมีเมนูที่ทำได้ง่าย ๆ และรวดเร็ว ก็ทำให้ต้นทุนอาหารไม่เยอะเหมือนร้านอาหารทั่วไป
ที่สำคัญคือ การมีที่ดินในมือตัวเองเป็นจำนวนมาก และปล่อยให้เช่าได้ ก็ได้กลายเป็นแหล่งทำเงินสำคัญให้กับบริษัท
และมีเงินทุนมากพอ สามารถนำไปใช้ในการขยายธุรกิจต่อได้อีกด้วย
และมีเงินทุนมากพอ สามารถนำไปใช้ในการขยายธุรกิจต่อได้อีกด้วย
ซึ่งถ้าไปดูในงบแสดงฐานะการเงิน จะพบว่า McDonald’s มีที่ดิน, อาคาร และอุปกรณ์ รวมถึงสิทธิ์ในการเช่าพื้นที่ รวมเป็นมูลค่าถึง 1.3 ล้านล้านบาท
หรือคิดเป็น 72% ของสินทรัพย์ทั้งหมดเลยทีเดียว
หรือคิดเป็น 72% ของสินทรัพย์ทั้งหมดเลยทีเดียว
ซึ่งทั้งหมดนี้ ส่งผลให้รายได้ทุก ๆ 100 บาท ของ McDonald’s เหลือกำไรมากถึง 26 บาท..